|
|
|
|
|
|
ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 เดือนธันวาคม 2555 ขยายตัวในอัตราชะลอลงเล็กน้อยเร่งขึ้น จากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้นในปีที่แล้วที่อยู่ในระดับต่ำ อันเป็นผลของวิกฤตอุทกภัย
ประกอบกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจากการใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออก รวมทั้งช่วงเดียวกันของปีก่อน ภายหลังเหตุการณ์วิกฤตอุทกภัยคลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 พบว่ายังคงส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นในหลายสาขาการผลิต โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยวภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูงมาก
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า “เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยในในเดือนธันวาคม 2555 ขยายตัวในอัตราชะลอลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 เร่งตัวขึ้นจากฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้น ตามการใช้จ่ายภายในประเทศที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งและการส่งออกที่เริ่มปรับ ตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน นอกจากนี้ การผลิตภาคบริการจากการท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัวสูงมากปี 2555 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในระดับสูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานในปีที่แล้วอยู่ในระดับต่ำจากผลของวิกฤตอุทกภัย โดยการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงเป็นแรง ขับเคลื่อนหลัก ขณะที่การส่งออกส่งสัญญาณขยายตัวอีกครั้ง นอกจากนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังส่งสัญญาณการขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ เน้นการส่งออก และภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี”
นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ชี้แจงข้อมูลเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมว่า “เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ขยายตัวได้ในระดับสูง ทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล (q-o-q SA) โดยเครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน เช่น การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค มีการขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ก็มีการขยายตัวดีเช่นกัน
เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 43.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมถึงภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวได้ดีอยู่ในระดับร้อยละ 45.2 ขณะที่การส่งออกในเดือนธันวาคม 2555 มีการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 18.5 และขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนี้ เครื่องชี้ทางด้านการผลิตก็พบว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 44.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 4.5 จากไตรมาสก่อนหน้า สำหรับภาคการท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 4 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 สำหรับการผลิตภาคการเกษตรในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสที่ 3 โดยผลผลิตยางพารายังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่ผลผลิตข้าวเปลือกและมันสำปะหลังชะลอตัว เนื่องจากมีการเร่งการเก็บเกี่ยวไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ในส่วนของนโยบายการคลังยังคงสนับสนุนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้จ่ายของรัฐบาลในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 60.5 ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจยังมีความมั่นคง โดยอัตรา การว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.4 ของกำลังแรงงาน เงินเฟ้อเร่งขึ้นเล็กน้อยและทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 2555 อยู่ในระดับสูงกว่า 181.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ”
รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวสรุปว่า “เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 บ่งชี้ถึงทิศทางการใช้จ่ายภายในประเทศ การผลิตและการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 สามารถขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 5.7 ตามที่คาดการณ์ไว้เดิม”
|
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
30 ม.ค. 2556 เวลา : 14:48:00
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น