"ตัวเลขเศรษฐกิจยุโรป และนโยบาย FED หนุนราคาน้ำมัน"
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.37 ปิดที่ 97.94 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 0.54 ปิดที่ 114.90 เหรียญ
+ ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุน จากภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของยุโรป โดยดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 89.2 ในเดือน ม.ค. จาก 87.8 ในเดือน ธ.ค. สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 88.2 ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจยุโรปได้พ้นช่วงตกต่ำที่สุดมาแล้ว และมีแนวโน้มที่สดใสขึ้น
+ ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0-0.25% จนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงต่ำว่า 6.5% อีกทั้งจะยังคงการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและการซื้อหลักทรัพย์ซึ่งได้รับการค้ำ ประกันจากสัญญาจำนองซึ่งมีมูลค่ารวม 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ
+ ผลสำรวจจากรอยเตอร์ คาดว่า ดัชนีชี้วัดการผลิต (PMI) ของจีนในเดือน ม.ค. จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 50.9 จาก 50.6 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 9 เดือน โดยเป็นผลมาจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยดัชนีสูงว่า 50 ขึ้นไปแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัว
+ ความไม่สงบในประเทศแถบตะวันออกกลาง หลังจากเครื่องบินของอิสราเอลระเบิดรถบรรทุกอาวุธ บริเวณชายแดนซีเรีย-เลบานอน โดยคาดว่าในรถบรรทุกดังกล่าวบรรทุกอาวุธร้ายแรงหลายอย่าง จากซีเรียมุ่งหน้าไปยังเลบานอน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อความกังวลต่ออุปทานในภูมิภาคดังกล่าว
- ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมสหรัฐฯ (GDP)ในไตรมาสที่ 4/55 ออกมาไม่ดีนัก โดยปรับลดลง -0.1 %ต่อปี โดยเป็นผลมาจาก ผู้ประกอบการชะลอการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติม เนื่องจากสินค้าคงคลังที่มีอยู่สูงตั้งแต่ในไตรมาสที่ 3 และการลดการใช้จ่ายของรัฐบาลลง 6.6% โดยเฉพาะด้านการทหาร นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯปรับเพิ่มขึ้น 5.95 ล้านบาร์เรล ต่างจากที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.6 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความกังวลต่ออุปทานตึงตัว หลังจาก Hess Corp. ประกาศขายโรงกลั่นซึ่งตั้งอยู่บริเวณรัฐ นิวเจอร์ซีย์ กอปรกับรัฐทางตะวันออกของสหรัฐฯ ได้มีการสั่งซื้อน้ำมันเบนซิน เพื่อเตรียมใช้ในฤดูร้อนซึ่งมีความต้องการใช้สูง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคที่คาดว่าจะตึงตัว จากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาคที่ยังมีอยู่
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 110 -118 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 92-100 เหรียญฯ โดยสัปดาห์นี้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจโดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ดัชนีภาคการผลิตและตัวเลขการใช้จ่ายภาคการก่อสร้างสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตและอัตราการว่างงานยูโรโซนและสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออก กลางและแอฟริกาเหนือ
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ / ผลประกอบการไตรมาส 4/55 ของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ได้แก่
วันพฤหัส: ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน รายจ่ายและรายได้ส่วนบุคคลสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ดัชนีราคาผู้บริโภคเยอรมนี
วันศุกร์: อัตราการว่างงาน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ดัชนีภาคการผลิตและตัวเลขการใช้จ่ายภาคการก่อสร้างสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตและอัตราการว่างงานยูโรโซน ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตโดยทางการจีนและHSBC /เมอร์ค
- จับตาการอนุมัติแผนเพิ่มเพดานหนี้ชั่วคราวระยะเวลา 3 เดือน ของสหรัฐฯ ที่จะช่วยให้สหรัฐฯ ไม่ต้องผิดนัดชำระหนี้และไม่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง รวมถึงเพื่อเพิ่มเวลาให้สภาฯ คองเกรสได้เจรจาการปรับลดงบประมาณในระยะยาวได้สำเร็จ
- การขนส่งน้ำมันดิบของท่อส่ง Seaway ของสหรัฐฯ คาดว่าจะกลับมาเต็มกำลังที่ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ได้ในสัปดาห์นี้ หลังมีการแก้ปัญหาถังน้ำมันปลายทางที่รัฐเท็กซัสเต็มซึ่งทำให้ต้องลดกำลังขน ส่งลงสู่ 170,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อสัปดาห์ก่อน
- ติดตามนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลใหม่ของอิสราเอลที่จะมีต่อปาเลสไตน์และ อิหร่าน หลังล่าสุดการเจรจาระหว่าง IAEAและอิหร่านยังไม่คืบหน้า
- ติดตามปัญหาความไม่สงบในอียิปต์ที่จะส่งผลต่อเสถียรภาพในตะวันออกกลางและ แอฟริกาเหนือ ซึ่งอาจกระทบต่ออุปทานน้ำมันจากภูมิภาคดังกล่าว
ข่าวเด่น