นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวถึงข้อเสนอของเวิลด์แบงค์ที่ต้องการให้ควบรวมกิจการธนาคารเอสเอ็มอี กับธ.ออมสินเข้าด้วยกัน ว่า
ส่วนตัวยังแปลกใจ คือข้อเสนอของเวิลด์แบงค์มีการเสนอมานานพอสมควรและไม่ได้เป็นข้อเสนอมาในช่วงไม่กี่วัน และเป็นข้อเสนอเมื่อรับแล้วเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังจะต้องดูแลข้อเสนอต่างๆเหล่านี้ ดังนั้นสำนักงานเศรษฐกิจการคลังก็แนวทางที่เสนอมาไปศึกษา ก็แปลกใจว่าเกิดเป็นข่าวช่วงนี้ และไปผูกโยงกับค่าแรงขึ้นต่ำ และไปผูกโยงกับค่าแรงขั้นต่ำหรือไปผูกโยงกับข้อถกเถียงกับธปท.ซึ่งอยากให้แยกกัน การดำเนินการในส่วนนี้จะดำเนินการอย่างไรก็ต้องให้รอบคอบ ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีแผนอะไรและการจะดำเนินการถ้าจะต้องหมายถึงส่วนไหนเป็นหนี้ดีและหนี้เสีย ซึ่งต้องดูความพร้อมของธนาคารที่จะมาร่วมด้วย ดังนั้นยังอีกไกล และบุคลากรของเอสเอ็มอีก็ยังทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ส่วนสถานการณ์ของเอสเอ็มอีแบงก์น่าเป็นห่วงหรือไม่ ขอเรียนว่าถ้าจะน่าเป็นห่วงก็น่าเป็นห่วงมาสักพักแล้ว และความจริงแล้วในอดีตไม่ว่ารัฐบาลทั้งสิ้นมันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากอดีตที่สะสมกันมา และวิธีการในอดีตพยามจะแก้ แต่ของงานรัฐบาลนี้น่าจะชัดเจนที่สุด เพราะกรณีนี้ประธานธนาคาร หรืออธิบดีกรมธนารักษ์ในฐานะกรรมการกระทรวงการคลังได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้ และข่าวนี้ไม่ใใหม่
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทั้งนี้แผนในเรื่องการแก้ปัญหาตรงนี้ก็กำลังดำเนินการ คิดว่าไม่กี่วันคงเสร็จสิ้น ดังนั้นอย่าไปตกใจอะไรกันเพราะไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นในรัฐบาลนี้และไม่ใช่เรื่องที่จะไปผูกโยงกับค่าแรงขั้นต่ำ และไม่ใช่เรื่องที่ไปผูกโยงกับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น แต่ถามว่าประเด็นเหล่านี้มีผลกระทบกับภาคธุรกิจหรือไม่ก็มีผล แต่ในขณะที่มีผลกระทบก็มีผลกระทบด้านดีไปแล้ว เช่นค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับขึ้นมามันเพิ่มกำลังซื้อในประเทศจนผู้ประกอบการหลายรายมีรายรับที่ดีขึ้นสอดคล้องกับจังหวะที่เราปรับลดอัตราภาษีในขณะที่เราพูดจามานานในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้นหรือไม่ และขณะนี้ยิ่งเห็นชัดขึ้นว่าส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินบาทกับเงินสกุลสำคัญของโลกมันกว้าง มันเป็นเหตุผลหรือไม่ที่มีการไหลเข้าของเงินเข้ามาลงทุนในตราสารทางการเงิน แต่ไม่ได้ลงทุนในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง จึงไม่อยากให้เอามารวมกัน
ส่วนการแก้ปัญหาของสองธนาคาร นายกิตติรัตน์ กล่าวว่าอย่างไรก็ตามทั้งสองธนาคารเป็นธนาคารของรัฐและดูขนาดของธนาคารไม่ได้เป็นธนาคารใหญ่อะไร เพราะฉะนั้นจะด้วยวิธีการใดก็แล้วแต่ รัฐบาลก็ดูแลในส่วนของธนาคารของรัฐบาลเหล่านี้ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มทุนให้ หรือแยกหนี้ที่มีปัญหาออกเป็นเรือ่งที่ในทางหลักการทีเกิดขึ้นทั้งนั้นแต่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาทำกันภายในไม่กี่วันนี้ ดังนั้นระหว่างที่มีการบริหารจัดการเป็นปกติทุกอย่างก็สามารถดำเนินการไปได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามสำหรับงบประมาณปี 2557มีความเป็นไปได้ที่จะมีการตั้งงบประมาณเพิ่มทุนให้กับเอสเอ็มอีแบงก์แต่ยังไม่ได้อยู่ในขั้นสุดท้ายที่จะมีการพิจารณา
ข่าวเด่น