เบรนท์ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับลดลง 0.55 ปิดที่ 111.06 เหรียญฯ และเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน เม.ย.ปรับลดลง 0.39 ปิดที่ 90.43 เหรียญฯ
- ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานพลังงานสากลของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 มี.ค. 56 ปรับเพิ่มขึ้น 3.83 ล้านบาร์เรล สูงกว่าการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 500,000 บาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับตัวลดลง 616,000 บาร์เรล ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะลดลง 700,000 บาร์เรล
- อัตราการใช้กำลังการกลั่นของโรงกลั่นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 2.9% มาอยู่ที่ระดับ 82.2% เนื่องจากอยู่ในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของหลายโรงกลั่น ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวเพิ่มขึ้น 247,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ2.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+ ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ส่งสัญญาณการฟื้นตัว ภายหลังยอดการจ้างงานภาคเอกชนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 198,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. สูงกว่าการคาดการณ์ที่ 170,000 ตำแหน่ง ในขณะที่ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน ม.ค. ถูกปรับทบทวนเป็นเพิ่มขึ้น 215,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้นเพียง 192,000 ตำแหน่ง
+ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดคำสั่งซื้อภาคโรงงานหดตัวลง 2% ในเดือน ม.ค. ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 2.2% เนื่องจากการอ่อนตัวลงของยอดสั่งซื้ออุปกรณ์ขนส่ง
+/- บริษัท Petroleos de Venezuela S.A. (PDVSA) รัฐวิสาหกิจของเวเนซุเอลารายงานว่า ภายหลังการถึงอสัญกรรมของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอลา สภาวะอุตสาหกรรมน้ำมันยังคงสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นปกติและอาจไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงดังที่นักวิเคราะห์ได้คาดกาณ์ไว้ อย่างไรก็ตามตลาดยังคงความกังวลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ โดยภายใต้รัฐธรรมนูญของเวเนซูเอล่าระบุว่า หากประธานาธิบดีที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่เสียชีวิตลง จะต้องมีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ภายในเวลา 30 วัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ภายในภูมิภาค โดยเฉพาะอุปสงค์จากเวียดนาม
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดยังคงตึงตัว และอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 108-115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 88-95 เหรียญฯ วันนี้ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป และตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในคืนนี้ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมนีและ จีดีพีไตรมาส 4/55 ของญี่ปุ่น (Final) รวมถึง ดุลการค้า ผลิตภาพแรงงานนอกภาคเกษตรและยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพุธ: จีดีพีไตรมาส 4/55 ยุโรป การจ้างงานภาคเอกชนและยอดคำสั่งซื้อของโรงงานสหรัฐฯ
วันพฤหัส: ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมนี การประชุมธนาคารกลางยุโรป ดุลการค้า ผลิตภาพแรงงานนอกภาคเกษตรและยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ จีดีพีไตรมาส4/55 ของญี่ปุ่น (Final)
วันศุกร์:การผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนี การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ
วันเสาร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดขายปลีกจีน
- ติดตามผลการเจรจาตัดลดงบประมาณรายจ่ายของสหรัฐฯ มูลค่ารวม 85,000 ล้านเหรียญฯ ว่าทั้งพรรคดีโมเครตและรีพับริกันจะสามารถตกลงกันได้หรือไม่ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากมาตรการปรับลดรายจ่ายอัตโนมัติที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มี.ค.
- ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 7 มี.ค. ว่าจะมีมุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจ นโยบายอัตราดอกเบี้ยและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆอย่างไร หลังตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปเริ่มปรับตัวดีขึ้น
- ติดตามการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากในสภาสูงและสภาล่าง ซึ่งถ้าหากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จอาจจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และมีความเสียงต่อการแก้ปัญหาหนี้ของอิตาลี
- ติดตามการถึงอสัญกรรมของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอลาที่จะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ โดยเวเนซุเอลามีปริมาณน้ำมันดิบสำรองมากเป็นอันดับ 1 ของโลกราว 297,000 ล้านบาร์เรลและมีการผลิตน้ำมันดิบ 2.34 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นผู้ส่งออกน้ำมันอับดับ 10 ของโลก
ข่าวเด่น