เบรนท์ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับลดลง 0.57 ปิดที่ 109.65 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.48 ปิดที่ 92.54 เหรียญฯ
- ทางการเกาหลีใต้เตรียมพิจารณาปิดช่องโหว่ทางกฎหมายด้านการขอคืนภาษีนำเข้าน้ำมันดิบ ซึ่งอาจจะทำให้มีผลกระทบทำให้ความต้องการนำเข้าน้ำมันดิบจาก North Sea ของเกาหลีใต้ลดลงเนื่องจากน้ำมันดิบดังกล่าวไม่เสียภาษีอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันโรงกลั่นกลับใช้สิทธิขอคืนภาษีดังกล่าว
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์โดนกดดันจากรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน มี.ค. ของโอเปก ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์การขยายตัวของความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลก ซึ่งจะปรับเพิ่มขึ้น 0.84 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2556 แต่ยังมีความเสี่ยงที่ความต้องการใช้น้ำมันของโลกจะปรับลดลงได้หากการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหรัฐฯและยุโรป
- นอกจากนี้รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน มี.ค. ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลกลง 40,000 บาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ 1.01 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2556 ส่วนทางด้านอุปทานของกลุ่มนอกโอเปกได้ปรับลดคาดการณ์การผลิตในปี 2556 ลงเล็กน้อย 10,000 บาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ 1.17 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+ อย่างไรก็ดี ตัวเลขความต้องการใช้น้ำมันในจีนเดือน ก.พ. ปรับเพิ่มขึ้น 4.9% เทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน มาอยู่ที่ 10.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวสูงขึ้นจากความคาดหวังของนักลงทุนที่รอท่อขนส่งน้ำมันดิบ Longhorn ของสหรัฐฯ ที่จะสามารถขนส่งน้ำมันดิบจากคุชชิ่งไปยังโรงกลั่นในบริเวณฮุสตัน รัฐเท็กซัส โดยมีกำลังการขนส่งขั้นต้น 75,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน เม.ย. และจะเพิ่มขึ้นเป็น 225,000 บาร์เรลต่อวันในไตรมาสที่ 3/56
+ สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งส่วนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรล และปริมาณน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับลดลง 3.1 ล้านบาร์เรลและ 2.2 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงหนุนจากตลาดน้ำมันเบนซินของทางยุโรป และมีความกังวลที่สหรัฐฯ อาจไม่สนใจที่จะนำเข้าน้ำมันเบนซินในราคาสูง
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่ปรับลดลงจากการที่มีโรงกลั่นปิดซ่อมบำรุงในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามตลาดคาดว่าผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างเวียดนามและอินโดนิเชียจะมีความต้องการนำเข้าน้อยลง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้เบรนท์ 108-115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 88-95 เหรียญ ตลาดเฝ้าจับตาการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลีและการผ่านแผนงบประมาณประจำปีของวุฒิสภาสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้
ส่วนในวันนี้ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือนมี.ค. ของ IEA
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพุธ: ยอดขายปลีกสหรัฐฯ การผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน
วันพฤหัส: ดุลบัญชีเดินสะพัดสหรัฐฯ ตัวเลขการจ้างงานยูโรโซน ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ รายงานธนาคารกลางยุโรป
วันศุกร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯและยูโรโซน ดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์ค ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ม.มิชิแกน)
- รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน มี.ค. ของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ในวันที่ 13 มี.ค.
- จับตาการเปิดประชุมสภาของอิตาลี เพื่อการจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่ในวันที่ 15 มี.ค. หลังผลการเลือกตั้งในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมายังไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากทั้งในสภาสูงและสภาล่าง ซึ่งถ้าหากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำอิตาลีอาจจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อรักษาการณ์จนกว่าจะมีการกำหนดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง
- ติดตามความคืบหน้าของการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหรัฐฯ โดยวุฒิสภาในสัปดาห์นี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการที่สหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับภาวะขาดงบประมาณของประเทศซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 27 มี.ค. นี้ หลังร่างดังกล่าวผ่านการอนุมัติจากสภาผู้ทนราษฎรแล้วเมื่อวันที่ 6 มี.ค.
- การเลือกตั้งของเวเนซุเอลาที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 เม.ย. นี้ ติดตามว่ารองประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโรจะได้รับเลือกตั้งตามที่อดีตประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซตั้งใจไว้หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อนโยบายต่างๆ ของประเทศและความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วย
- ติดตามการกลับมาส่งออกน้ำมันซูดานใต้อีกครั้ง หลังความรุนแรงระหว่าซูดานและซูดานใต้คลี่คลายและมีข้อตกลงจะถอนกำลังทหารที่บริเวณชายแดนออกตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค. เป็นต้นไป
ข่าวเด่น