เบรนท์ส่งมอบเดือน พ.ค.ปรับลดลง 0.31 ปิดที่ 109.51 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.29 ปิดที่ 93.74 เหรียญฯ - ประธานาธิบดีนิคอส อนัสตาเซียเดส ของไซปรัสประกาศใช้แผนการเก็บภาษีแบบครั้งเดียว (one-off) ของเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ โดยเงินฝากที่มากกว่า 100,000 ยูโร จะเก็บภาษี 9.9% ส่วนเงินฝากจำนวนน้อยกว่านั้นจะเก็บภาษีที่ 6.75% เพื่อเป็นการแลกกับเงินช่วยเหลือจำนวน 10,000 ล้านยูโร ที่สหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศตัดสินใจจะมอบให้เพื่อช่วยแก้ไขวิกฤติหนี้ของไซปรัสให้มีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีลดลงมาอยู่ที่ 100% ในปี 2563 ซึ่งปัจจัยนี้ได้ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่าปัญหาหนี้ในยุโรปจะลุกลามและกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศอื่นในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การลงมติผ่านแผนหักภาษีดังกล่าวได้ถูกเลื่อนออกไปเป็นเย็นวันอังคารที่ 19 มี.ค. นี้ หลังถูกเลื่อนมาแล้ว 2 ครั้ง + ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากราคายังคงได้รับแรงหนุนจากตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดบ้านเดือน มี.ค. ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 44 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก + เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้ประท้วงในลิเบีย เพื่อขอให้มีการจ้างงานของคนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นได้กีดขวางการเข้า-ออกของแหล่งผลิตน้ำมันดาห์รา (Dahra field) ของบริษัท Waha Oil ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทน้ำมันแห่งชาติลิเบียและบริษัท Marathon, Hess Corp และ ConocoPhillips ที่มีกำลังผลิต 300,000 บาร์เรลต่อวัน โดยการประท้วงยืดเยื้อมาตั้งแต่ 11 มี.ค. -/+ นายอาลี อัล-นาอิมิอี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบียกล่าวว่าราคาน้ำมันที่ระดับ 100 เหรียญฯ ถือเป็นระดับที่เหมาะสมและไม่ได้สูงเกินไปจนกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจโลก รวมถึงยังไม่มีความจำเป็นที่ซาอุฯ จะต้องผลิตน้ำมันดิบเพิ่มเติม ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการนำเข้าของอินโดนีเซียในเดือน เม.ย. คาดว่าจะปรับลดลงมาจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันเบนซินคาดว่าจะยังคงตึงตัวในช่วงการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังขาดแรงซื้อภายในภูมิภาค โดยเฉพาะจากอินโดนีเซียและเวียดนาม ขณะที่อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคยังอยู่ในระดับสูง ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้เบรนท์ 105-112 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 88-95 เหรียญ ติดตามการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิตาลีและความคืบหน้าในการอนุมัติงบประมาณประจำปีของสหรัฐฯ คืนนี้ติดตามดัชนี้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนและเยอรมนี (ZEW) ยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันอังคาร: ดัชนี้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนและเยอรมนี (ZEW) ยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ วันพุธ: ดุลบัญชีเดินสะพัดและดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยูโรโซน รายงานการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ การประชุมและแถลงการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ วันพฤหัส: ดัชนีภาคการผลิตและยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟีย ดัชนีภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน เยอรมนีและฝรั่งเศส ดัชนีภาคการผลิตจีนโดย HSBC วันศุกร์: ดัชนี้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (Ifo) - ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 20 มี.ค. นี้ ว่าจะมีมุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการเงินและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอย่างไร หลังตัวเลขเศรษฐกิจโดยเฉพาะตลาดแรงงาน อสังหาริมทรัพย์และตัวเลขค้าปลีกปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง - จับตาการความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หากยังไม่มีฝ่ายใดจับมือกันจนได้เสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนฯและวุฒิสภา อิตาลีอาจจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อรักษาการณ์จนกว่าจะมีการกำหนดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง - การลงมติผ่านแผนตัดภาษีเงินฝากของไซปรัสในวันที่ 19 มี.ค. เพื่อแลกกับการได้รับเงินช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟ จำนวน 10,000 ล้านยูโร - การลงมติร่างงบประมาณรายจ่ายระยะสั้นของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ Government Shutdown ที่จะมีผลในวันที่ 27 มี.ค.นี้ หลังสภาสูงเสนอร่างเพิ่มเติมกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอีกครั้ง หลังมีบางประเด็นที่ยังเห็นไม่ตรงกัน - ติดตามการเจรจารอบใหม่ในระดับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรายละเอียดทางเทคนิคของโครงการนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับ 6 ชาติมหาอำนาจที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกีในวันที่ 17-18 มี.ค. ก่อนจะมีการเจรจาระดับหัวหน้าคณะผู้แทนในวันที่ 5-6 เม.ย. - ติดตามความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจของจีนภายใต้ผู้นำคนใหม่ ซึ่งตลาดคาดว่าจะทาให้เศรษฐกิจจีนเติบโตมากกว่าเป้าที่ 7.5% อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังสร้างกดดันต่อการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
ข่าวเด่น