เบรนท์ส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 1.27 เหรียญฯ ปิดที่ 108.72 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.80 ปิดที่ 92.96 เหรียญฯ + ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณเดินหน้ามาตรการ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยวานนี้ (20 มี.ค.) เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในระดับต่ำที่ระดับ 0-0.25% และจะยังคงเดินหน้าโครงการซื้อสินทรัพย์ในวงเงินปัจจุบันที่ 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ /เดือน จนกว่าอัตราว่างงานจะลดลงต่ำกว่าระดับ 6.5% + สำนักงานพลังงานสากลของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 มี.ค. 56 ปรับลดลง 1.31 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 2 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลง 219,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 7.27 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับตัวลดลง 1.48 ล้านบาร์เรล ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล + ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า ว่าปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 48.5 จุด จาก 48.2 จุด ในเดือน ก.พ. ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ว่าจะลดลง และเป็นการสะท้อนว่าเศรษฐกิจเยอรมนีกำลังกลับสู่การขยายตัวอีกครั้ง หลังจากที่หดตัวในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา - อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงความกังวลในประเด็นวิกฤติสภาพคล่องของไซปรัส หลังจากที่รัฐสภาไซปรัสมีมติคัดค้านแผนการเก็บภาษีเงินฝากธนาคาร ขณะที่ไซปรัสพยายามหาทางออกผ่านการขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย ทั้งนี้ นายมิคาลิส ซาร์ริส รัฐมนตรีคลังของไซปรัส ได้เดินทางไปยังกรุงมอสโควของรัสเซียเพื่อหารือกับรัฐมนตรีคลังของรัสเซียอย่างเร่งด่วนในประเด็นดังกล่าว ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคชะลอตัวลง โดยเฉพาะอุปสงค์จากอินโดนีเซีย ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดยังคงมีอุปทานออกมาเพิ่มขึ้นจากตะวันออกกลางและอินเดีย ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้เบรนท์ 105-112 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 88-95 เหรียญ วันนี้ติดตามการลงมติร่างงบประมาณรายจ่ายของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และคืนนี้ติดตามดัชนีภาคการผลิต และยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานของสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน และดัชนีภาคการผลิตจีนโดย HSBC ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันพฤหัส: ดัชนีภาคการผลิตและยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟีย ดัชนีภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน เยอรมนีและฝรั่งเศส ดัชนีภาคการผลิตจีนโดย HSBC วันศุกร์: ดัชนี้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (Ifo) - จับตาการความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หากยังไม่มีฝ่ายใดจับมือกันจนได้เสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนฯและวุฒิสภา อิตาลีอาจจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อรักษาการณ์จนกว่าจะมีการกำหนดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง - การลงมติร่างงบประมาณรายจ่ายระยะสั้นของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ Government Shutdown ที่จะมีผลในวันที่ 27 มี.ค.นี้ หลังสภาสูงเสนอร่างใหม่กลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอีกครั้ง หลังมีบางประเด็นที่ยังเห็นไม่ตรงกัน - ติดตามผลการเจรจารอบใหม่ในระดับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรายละเอียดทางเทคนิคของโครงการนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับ 6 ชาติมหาอำนาจที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกีในวันที่ 17-18 มี.ค. ก่อนจะมีการเจรจาระดับหัวหน้าคณะผู้แทนในวันที่ 5-6 เม.ย. - ติดตามความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจของจีนภายใต้ผู้นำคนใหม่ ซึ่งตลาดคาดว่าจะทาให้เศรษฐกิจจีนเติบโตมากกว่าเป้าที่ 7.5% อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังสร้างกดดันต่อการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
ข่าวเด่น