เบรนท์ส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับลดลง 1.25 เหรียญฯ ปิดที่ 107.47 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับลดลง 1.05 ปิดที่ 92.45 เหรียญฯ - ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ให้เวลาแก่ไซปรัสจนถึงวันที่ 25 มี.ค. เพื่อระดมเงินทุนให้ได้ 5.8 พันล้านยูโร เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ 10 พันล้านยูโร ซึ่งหากไม่สำเร็จจะตัดความช่วยเหลือ โดยคณะผู้นำทางการเมืองของไซปรัสพยายามหามาตรการ "plan B" เพื่อระดมทุนในการนำมาใช้เพื่อกอบกู้วิกฤตการเงินของประเทศ ซึ่งสถานการณ์ในไซปรัสที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้น อาจส่งผลให้ระบบการธนาคารของไซปรัสล่มสลายและกดดันให้ไซปรัสต้องออกจากการเป็นสมาชิกของยูโรโซน ทำให้ยูโรโซนซึ่งได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากวิกฤตหนี้สาธารณะมีปัญหามากขึ้น และทำให้ตลาดกังวลต่ออนาคตของความต้องการใช้น้ำมันในยุโรป - ดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการ (PMI Composite) ของยูโรโซนในเดือน มี.ค.ปรับตัวลงเป็น 46.5 จาก 47.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์รอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 48.2 จากอัตราที่ชะลอลงของเยอรมนีและฝรั่งเศส + จำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 2,000 ราย แตะระดับ 336,000 ราย อย่างไรก็ดีจำนวนรวมเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ปรับลดลง 7,500 ราย แตะระดับ 339,750 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี +ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ เดือน ก.พ.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8% แตะที่ 4.98 ล้านยูนิตต่อปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 52 ส่วนยอดขายบ้านมือสองเดือน ม.ค.ได้รับการปรับทบทวนเพิ่มขึ้นเป็น 4.94 ล้านยูนิต จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 4.92 ล้านยูนิต สะท้อนให้เห็นว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ฟื้นตัว + ผู้นำสูงสุดของอิหร่านกล่าวว่าจะเข้าโจมตีเมืองท่าของอิสราเอล ถ้าหากอิสราเอลเข้าโจมตีฐานที่ตั้งโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ขณะเดียวกันทางรัสเซียได้ออกมากล่าวว่าการเจรจาระหว่างอิหร่านและชาติมหาอำนาจทั้งหกมีความคืบหน้าแต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีความต้องการจากเวียดนามและอินโดนิเชียอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีความต้องการจากออสเตรเลีย บังคลาเทศ ศรีลังกา และ เวียดนามเพิ่มขึ้น ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้าเบรนท์ 105-112 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 88-95 เหรียญ ติดตามการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิตาลีและการข้อเสนอแผนการเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือของไซปรัส คืนนี้ติดตามดัชนี้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (Ifo) ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันศุกร์: ดัชนี้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (Ifo) ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่ วันจันทร์: ดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางดัลลัส วันอังคาร: ยอดขายบ้านใหม่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนและดัชนีราคาบ้านสหรัฐฯ (S&P/CS) วันพุธ: ดัชนีราคาผู้บริโภค ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจยูโรโซน ยอดสัญญาซื้อขายบ้านรอปิดการขายสหรัฐฯ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนี (GfK) วันพฤหัส: จีดีพีไตรมาส 4 (Final) และยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ตัวเลขการจ้างงานเยอรมนี วันศุกร์: ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ (ม.มิชิแกน) รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ - จับตาความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังในวันที่ 20-21 มี.ค.ประธานาธิบดีได้เรียกประชุมกับสมาชิกสภาเป็นครั้งแรกเพื่อพยายามจัดตั้งรัฐบาล หากไม่สำเร็จ อาจทำให้อิตาลีต้องมีการแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง - ติดตามการขอเงินช่วยเหลือของไซปรัสจำนวน 10,000 ล้านยูโรต่ออียูและไอเอ็มเอฟ หลังจากรัฐสภาลงมติคัดค้านการเก็บภาษีจำนวน 5,800 ล้านยูโรกับผู้ฝากเงินตามเงื่อนไขที่แนบมา ล่าสุดธนาคารกลางยุโรปยื่นคำขาดให้ไซปรัสต้องเสนอแผนการขอเงินช่วยเหลือมาใหม่ภายในวันที่ 25 มี.ค.นี้ มิฉะนั้นจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนดังกล่าว -ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในซีเรียหลังมีการยิงระเบิดที่หลายฝ่ายสงสัยว่ามีส่วนผสมของอาวุธเคมีซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยล่าสุดทั้งรัฐบาลและกลุ่มผู้ต่อต้านเรียกร้องให้สหประชาชาติเข้ามาตรวจสอบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว - ติดตามเหตุยิงระเบิดจากฉนวนกาซาร์เข้ามายังอิสราเอลระหว่างการเยือนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าเป็นการเยือนเพื่อสมานความสัมพันธ์มากกว่าที่จะเป็นการเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรมเพื่อยุติความรุนแรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์
ข่าวเด่น