ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันวันนี้ : "ราคาน้ำมันดิบลด หลังตลาดแรงงานสหรัฐฯซบเซา"



เบรนท์ส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับลดลง 0.77  ปิดที่ 106.34 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน พ.ค.ปรับลดลง 1.19 ปิดที่ 93.26 เหรียญฯ
 
- ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 28,000 ราย แตะระดับ 385,000 ราย ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในรอบ 4 เดือน และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงแตะระดับ 350,000 ราย ซึ่งการเพิ่มขึ้นอย่างเหนือความคาดหมายของยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสะท้อนให้เห็นการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯยังคงเปราะบางส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลถึงผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน นอกจากนี้การที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯปรับเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 22 ปี เป็นอีกหนึงปัจจัยที่เพิ่มความกังวลต่อตลาดน้ำมันอีกด้วย
 
- ผู้บริหารของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าววานนี้ โดยคาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมันของโลกในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าจะปรับลดลงจากปัจจุบัน ยิ่งเป็นแรงกดดันต่อตลาดน้ำมันดิบ
 
- ดัชนีภาคบริการยูโรโซน เดือน มี.ค. ลดลงที่ 46.4 จาก 47.9 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการที่ภาคบริการของประเทศสมาชิกรายใหญ่ๆต่างก็ปรับตัวลดลง นำโดยดัชนีภาคบริการของฝรั่งเศสที่ปรับตัวลดลงเป็น 41.3 จาก 43.7 ในเดือนก่อนหน้า และยังถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 48 เดือน
 
+ ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายการเงิน โดยอัดฉีดเงินจำนวน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ภายใน 2 ปี เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% และจัดการกับปัญหาเงินฝืด
 
+ รายงานการประชุมธนาคารกลางยุโรป รายงานว่าธนาคารกลางยุโรปจะยังคงมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดที่ 0.75% ต่อไปเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
 
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากอุปทานที่สูงขึ้น โดยเบนซินคงคลังที่สิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 12 สัปดาห์ ประกอบกับความต้องการในภูมิภาคที่ชะลอตัวลง
 
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีความต้องการจากนภูมิภาคเพิ่มเติมจากเวียดนาม
 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้าเบรนท์ 105-112 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส  92-99 เหรียญ ติดตามการเจรจาระหว่างอิหร่านกับ 6 ประเทศมหาอำนาจ ส่วนวันนี้ยอดขายปลีกยูโรโซน  ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมนี ดุลการค้า อัตราการว่างงานและตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันศุกร์: ยอดขายปลีกยูโรโซน  ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมนี ดุลการค้า อัตราการว่างงานและตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่
วันจันทร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนี ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนยูโรโซน
วันอังคาร: ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน ดุลาการค้าเยอรมนีและฝรั่งเศส รายงานประจำเดือน EIA
วันพุธ: รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ การผลิตภาคอุตสาหกรรมฝรั่งเศสและอิตาลี ดุลการค้าจีน รายงานประจำเดือนกลุ่มโอเปก
วันพฤหัส: รายงานตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือนของธนาคารกลางยุโรป ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคเยอรมนีและฝรั่งเศส รายงานประจำเดือน IEA
วันศุกร์: การประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน การผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน ยอดขายปลีกสหรัฐฯ ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ(ม.มิชิแกน)
 
  - ติดตามเหตุรั่วไหลท่อส่งน้ำมันดิบของบริษัทเอ็กซอลโมบิล ซึ่งมีกำลังส่ง 90,000 บาร์เรลต่อวัน ว่าจะมีผลทำให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังบริเวณตอนกลางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะบริเวณคุชชิ่งเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
 
 - จับตาความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังจากไม่มีฝ่ายใดได้เสียงข้างมากทั้งสภาผู้แทนฯและวุฒิสภาหากไม่สำเร็จ ล่าสุดประธานาธิบดีของอิตาลีได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เพื่อปูทางให้ประธานนาธิบดีคนใหม่ที่จะมีการเลือกตั้งภายในเดือน เม.ย. ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ภายในปีนี้
 
- จับตาการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศยูโรโซนที่จะจัดขึ้นที่ประเทศไอร์แลนด์ในวันที่ 12 เม.ย. ว่าจะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินในยูโรโซนอย่างไร หลังไซปรัสได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 10,000 ล้านยูโร ตลาดคาดว่าประเทศต่อไปที่มีโอกาสขอเงินช่วยเหลือคือสโลวีเนีย
 
- ติดตามรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าจะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายการเงินอย่างไร หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มปรับตัวดีขึ้นในหลายภาคส่วนตั้งแต่ช่วงต้นปี


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 05 เม.ย. 2556 เวลา : 12:23:35

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 4:07 am