บมจ.ไทยออยล์ รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมัน 9 เมษายน 2556 "ราคาน้ำมันดิบปิดแดนบวก หลังการเจรจาอิหร่านกับชาติตะวันตกไม่คืบหน้า
เบรนท์ส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.54 ปิดที่ 104.66 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน พ.ค.ปรับเพิ่มขึ้น 0.66 ปิดที่ 93.36 เหรียญฯ
+ การเจรจาระหว่างของอิหร่านและชาติตะวันตกในประเด็นความขัดแย้งด้านโครงการนิวเคลียร์ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงไม่มีความคืบหน้า ทำให้นักลงทุนกังวลว่าชาติตะวันตกอาจจะมีการใช้
มาตรการคว่ำบาตรที่เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ความตึงเครียดทวีความรุนแรงมากขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมันดิบอิหร่านได้
+ ราคาน้ำมันเบนซินที่ตลาดล่วงหน้าสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 2% เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ จะปรับตัวสูงขึ้นในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าที่เป็นช่วงฤดูร้อนที่
มีใช้รถยนต์สูง ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นด้วย
+ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนออกโรงตำหนิเกาหลีเหนือ โดยกล่าวว่าจะไม่ยอมให้ชาติใดมาสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายในภูมิภาค และไม่ควรปล่อยให้ประเทศใดทำให้ภูมิภาคและทั้งโลกหายนะเพียง
เพื่อประโยชน์อันเห็นแก่ตัว เป็นการส่งสัญญาณว่าผู้นำจีนอาจไม่พอใจการกระทำของเกาหลีเหนืออย่างมาก
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับเพิ่มขึ้นเพียง 88,000 คน ในเดือน มี.ค. ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 9 เดือน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้มากที่ 200,000 คน ในขณะที่อัตราการว่างงานปรับลดลง
เล็กน้อยจาก 7.7% เป็น 7.6% ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนชาวอเมริกันที่เลิกหางานทำพุ่งสูงขึ้น ทำให้สัดส่วนแรงงานและคนที่กำลังหางานต่อจำนวนประชากรลดลงต่ำสุดในรอบ 34 ปี
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคที่ปรับสูงขึ้นหลังจากโรงกลั่นเริ่มกลับมาจากช่วงปิดซ่อมบำรุง ในขณะที่ตลาดจับตามองว่าอินโดนีเซีย
จะกลับเข้ามาซื้อน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นหรือไม่
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดีเซลสำหรับทำความร้อนในช่วงฤดูหนาวปรับลดลงเรื่อยๆ ทำให้โอกาสในการส่งน้ำมันดีเซลไปยังยุโรปมีน้อยลงและอุปทานส่วนเกินในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้าเบรนท์ 102-108 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 90-96 เหรียญ ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือนของ EIA/OPEC/IEA
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันอังคาร: ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน ดุลาการค้าเยอรมนีและฝรั่งเศส รายงานประจำเดือน EIA
วันพุธ: รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ การผลิตภาคอุตสาหกรรมฝรั่งเศสและอิตาลี ดุลการค้าจีน รายงานประจำเดือนกลุ่มโอเปก
วันพฤหัส: รายงานตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือนของธนาคารกลางยุโรป ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคเยอรมนีและฝรั่งเศส รายงานประจำเดือน IEA
วันศุกร์: การประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน การผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน ยอดขายปลีกสหรัฐฯ ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ(ม.มิชิแกน)
- ติดตามเหตุรั่วไหลท่อส่งน้ำมันดิบของบริษัทเอ็กซอลโมบิล ซึ่งมีกำลังส่ง 90,000 บาร์เรลต่อวัน ว่าจะมีผลทำให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังบริเวณตอนกลางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะบริเวณคุชชิ่งเพิ่มขึ้นมาก
น้อยเพียงใด
จับตาความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังจากไม่มีฝ่ายใดได้เสียงข้างมากทั้งสภาผู้แทนฯและวุฒิสภา ล่าสุดประธานาธิบดีของอิตาลีได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการ
เลือกตั้ง เพื่อปูทางให้ประธานนาธิบดีคนใหม่ที่จะมีการเลือกตั้งภายในเดือน เม.ย. ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ภายในปีนี้
- จับตาการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศยูโรโซนที่จะจัดขึ้นที่ประเทศไอร์แลนด์ในวันที่ 12 เม.ย. ว่าจะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินในยูโรโซนอย่างไร หลังไซปรัสได้รับเงินช่วยเหลือ
จำนวน 10,000 ล้านยูโร ตลาดคาดว่าประเทศต่อไปที่มีโอกาสขอเงินช่วยเหลือคือสโลวีเนีย
- ติดตามรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าจะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายการเงินอย่างไร หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มปรับตัวดีขึ้นในหลายภาคส่วนตั้งแต่ช่วงต้นปี
ข่าวเด่น