เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน มิ.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 1.50 ปิดที่ 94.50 เหรียญฯ และเบรนท์ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.65 ปิดที่ 103.81 เหรียญฯ + ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ QE ต่อ ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 30 เม.ย. - 1 พ.ค. นี้ หลังจากที่เศรษฐกิจในระยะหลังของสหรัฐฯ ออกมาไม่ดีนัก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อในประเทศยังคงอยู่ในระดับต่ำ + ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะมีการประชุมในวันที่ 2 พ.ค. นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งจากปัจจุบันที่ระดับ 0.75% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังเศรษฐกิจยุโรปยังคงหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากวิกฤตหนี้ในยุโรป + ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคของสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2% มากกว่าคาด ทั้งนี้เนื่องจากการใช้จ่ายทางด้านสาธารณูปโภคปรับเพิ่มขึ้นจากอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติในช่วงเดือน มี.ค. อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภคในด้านสินค้าและบริการอื่นๆ ยังคงออกมาไม่ดีนัก ประกอบกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ตลาดเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงมาตรการ QE ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่มูลค่า 85 พันล้านเหรียญฯ ต่อเดือนต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง + ดัชนีราคาหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นหนุนราคาน้ำมันดิบขึ้นตาม หลังตัวเลขยอดซื้อขายบ้านรอปิดการขายของสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี ชี้ว่าตลาดบ้านสหรัฐฯ ฟื้นตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ตลาดตอบรับข่าวดีจากความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิตาลีและการที่อิตาลีจะหันมาดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแทนนโยบายรัดเข็มขัด ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นด้วย + ดัชนีความเชื่อมั่นยูโรโซนปรับตัวลดลง 1.5 มาอยู่ที่ 88.6 ในเดือน เม.ย. ต่ำกว่าคาดที่ 89.3 จากตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้ตลาดคาดว่า ECB อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจากโรงกลั่นในเอเชียยังคงปิดซ่อมบำรุงส่งผลให้อุปทานปรับลดลง แม้ว่าความต้องการใช้ปรับลดลงด้วย ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากแรงซื้อในตลาดปรับลดลงในช่วงก่อนวันหยุดวันแรงงานของหลายประเทศในภูมิภาค ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ คาดว่าเบรนท์จะอยู่ที่กรอบ 97 - 105 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสที่ 87 -95 เหรียญ ในสัปดาห์นี้ติดตามการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรปในการตัดสินใจนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง ส่วนในวันนี้ติดตามตัวเลขความรู้สึกของผู้บริโภคสหรัฐ และเยอรมนี ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันอังคาร: ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี จีดีพีไตรมาส 1 ของสเปน ดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราว่างงานยูโรโซน ดัชนีราคาบ้านสหรัฐฯโดย (S&P/CS) ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโกและความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ วันพุธ: ดัชนีภาคการผลิตโดยทางการจีน ดัชนีภาคการผลิตอังกฤษ การจ้างงานภาคเอกชนและดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ แถลางการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ วันพฤหัส: ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซนและเยอรมนี ดุลการค้าและยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC) วันศุกร์: ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานและสินค้าคงทน ดัชนีภาคบริการ การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีภาคบริการจีน - การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. นี้ จับตาทิศทางของนโยบาย QE4 หลังมีข่าวว่านโยบายดังกล่าวอาจสิ้นสุดลงก่อนกำหนด - ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 2 พ.ค. ที่หลายฝ่ายคาดว่าธนาคารจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง หลังประธานธนาคารกลางส่งสัณญาณของความเป็นไปได้ในการปรับลดและหลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัวลง - จับตานโยบายการบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลี หลังการบรรลุข้อตกลงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลีชุดใหม่หลังการเลือกตั้งที่เสร็จสิ้นไปแล้วกว่า 2 เดือน - ติดตามความคืบหน้าในการโหวตรับเงินช่วยเหลือมูลค่า 1 หมื่นล้านยูโรของไซปรัส หลัง มีกระแสว่าสมาชิกสภาบางส่วนจะโหวตไม่รับรองเงินช่วยเหลือจำนวนดังกล่าวซึ่งจะมาพร้อมกับเงื่อนไขที่เข้มงวดทางการเงินและการคลัง - ความไม่สงบในตะวันออกกลางโดยเฉพาะการปะทะกันของกองกำลังรัฐบาลอิรักกับผู้ประท้วงชาวสุหนี่ รวมถึงเหตุระเบิดสถานฑูตฝรั่งเศสในลิเบีย และความรุนแรงในไนจีเรีย - ติดตามการเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 พ.ค. ณ นครเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ข่าวเด่น