เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ก.ค.ปรับลดลง 0.14 เหรียญฯ ปิดที่ 93.31 เหรียญฯ และเบรนท์ส่งมอบเดือน ก.ค.ปรับเพิ่มขึ้น 1.18 เหรียญฯ ปิดที่ 103.24 เหรียญฯ
+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าเกาหลีใต้จะออกนโยบายทางด้านภาษีชุดใหม่ เพื่อจูงใจให้มีการนำเข้าน้ำมันที่หลากหลายขึ้น โดยเน้นให้มีการจ่ายภาษีคืนแก่ผู้ซื้อน้ำมันดิบนอกเขตตะวันออกกลาง ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งผลิตอยู่ที่ฝั่งทะเลเหนือเพิ่มมากขึ้น เฉกเช่นเดียวกันกับนโยบายทางด้านภาษีชุดก่อนที่จะสิ้นสุดลงในเดือนนี้
+ สภาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯปรับลดลง 7.8 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 387.4 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าปรับลดลง 400,000 บาร์เรล อันเป็นผลมาจากการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงและการเพิ่มกำลังการกลั่นของโรงกลั่น นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 220.1 ล้านบาร์เรล
- แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Buzzard ในทะเลเหนือคาดว่าจะกลับดำเนินการผลิตได้ตามปกติที่ 200,000 บาร์เรลต่อวันในวันที่ 5 มิถุนายนนี้ หลังจากประสบปัญหาทางเทคนิคในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันสามารถดำเนินการผลิตได้แล้วกว่ากึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตทั้งหมด
- /+ งบประมาณสหรัฐฯขาดดุลมากขึ้น 8.5 % มาอยู่ที่ 40.3 พันล้าน เพิ่มในเดือนเมษายน จาก 37.1 พันล้านในเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือว่าต่ำว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 41 พันล้าน เนื่องจากยอดส่งออกที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน อย่างไรก็ตามตัวเลขการว่างงานสเปนปรับตัวลดลง 98,000 ตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากความต้องการแรงงานในช่วงฤดูร้อน ภายหลังยอดการว่างงานของสเปนแตะระดับสูงสุดในไตรมาส 1/56 ที่ 27.1%
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดีเซลชองอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ซื้อหลักของภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น ในช่วงก่อนเทศกาลรอมฎอนซึ่งจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม
ราคาน้ำมันมันดีเซล เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคที่เบาบาง อันเป็นผลจากการปิดซ่อมบำรุงประจำปีโรงกลั่นในอินเดียหลายแห่ง และการปิดซ่อมจากเหตุไฟไหม้
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ ไทยออยล์คาดเบรนท์จะอยู่ที่กรอบ 98 - 106 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสที่ 90 -98 เหรียญ จับตาการการประชุมธนาคารกลางสหภาพยุโรปและอังกฤษในวันที่ 6 มิ.ย. นี้ และติดตามตัวเลขเศรษฐกิจจำนวนมากจากทั้งสหรัฐฯ ยูโรโซน และจีนที่จะประกาศในวันนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพุธ: จีดีพีไตรมาส 1 (ครั้งที่ 2) ดัชนีภาคบริการและยอดขายปลีกยูโรโซน ยอดคำสั่งซื้อโรงงาน ดัชนีภาคบริการและการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ ดัชนีภาคบริการอังกฤษและจีนโดย HSBC รายงานภาวะเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Beige Book)
วันพฤหัส: การประชุมธนาคารกลางยุโรปและอังกฤษ ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ยอดคำสั่งซื้อโรงงานเยอรมนี
วันศุกร์: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน การผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนี
วันเสาร์: ดุลการค้าจีน
วันอาทิตย์: ดัชนีราคาผู้บริโภค การผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดขายปลีกจีน
- การประชุมธนาคารยุโรปในวันที่ 6 มิ.ย. นี้ จะมีมุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร หลังการประชุมในครั้งที่ผ่านมามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก 0.75% เหลือ 0.5%
- จับตาสถานการณ์ความไม่สงบในซีเรีย หลังล่าสุดรัสเซียได้ออกมาประณามมติของสหภาพยุโรปที่จะไม่ต่ออายุสนธิสัญญาห้ามขนถ่ายอาวุธให้กับกลุ่มกบฏซีเรีย โดยรัสเซียเตรียมส่งขีปนาวุธต้านอากาศยานไปยังซีเรียเพื่อยับยั้งการแทรกแซงของต่างชาติ
- การซ่อมบำรุงของแหล่งน้ำมันดิบในแถบทะเลเหนือที่จะเริ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. เป็นเวลากว่า 20 วัน ที่จะทำให้อุปทานน้ำมันดิบบางส่วนหายไป
- จับตาความรุนแรงในอิรัก ทั้งในเมืองหลวงแบกแดดและเขตปกครองตนเองชาวเคิร์ดทางตอนเหนือที่มีปัญหาข้อพิพาทในการแบ่งผลประโยชน์ด้านน้ำมันกับรัฐบาลอิรัก
- ความขัดแย้งระลอกใหม่ระหว่างซูดานกับซูดานใต้ โดยล่าสุดซูดานขู่ที่จะปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบหากซูดานใต้สนับสนุนกลุ่มกบฎในซูดาน
ข่าวเด่น