เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.43 เหรียญฯ ปิดที่ 93.74 เหรียญฯ และเบรนท์ส่งมอบเดือน ก.ค. ปรับลดลง 0.20 เหรียญฯ ปิดที่ 103.04 เหรียญฯ
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA)รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 พ.ค. 56 ปรับตัวลดลงถึง 6.3 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 391.3 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะลดลงเพียง 0.4 ล้านบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินคงคลังปรับลดลง 0.36 ล้านบาร์เรล สวนทางกับการคาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.5 ล้านบาร์เรล และน้ำมันดิบคงคลังที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมา (จุดส่งมอบน้ำมันดิบ WTI) ปรับลดลง 0.48 ล้านบาร์เรล ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ค. 56
+ โรงกลั่นน้ำมันของ BP Plc. ที่ Whiting รัฐอินเดียนาในสหรัฐอเมริกา กำลังการกลั่นรวม 405,000 บาร์เรลต่อวัน เผยความเป็นไปได้ว่าหน่วยกลั่นกำลังการผลิต 260,000 บาร์เรลต่อวัน อาจกลับมาดำเนินการตามปกติได้เร็วที่สุดในปลายเดือน มิ.ย. นี้ ภายหลังมีการทดลองดำเนินการเพื่อตรวจสอบปัญหาการรั่วไหลเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา
+ ดัชนีภาคบริการของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53.7 ในเดือน พ.ค. จากระดับ 53.1 ในเดือน เม.ย. สูงกว่าการคาดการณ์ที่ระดับ 53.5 ซึ่งตัวเลขที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่า กิจกรรมในภาคบริการของสหรัฐฯ ยังคงสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
- อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 135,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ค. น้อยกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 165,000-170,000 ตำแหน่ง ในขณะที่การจ้างงานภาคเอกชนเดือน เม.ย. ถูกปรับทบทวนลงเป็นเพิ่มขึ้นเพียง 113,000 ตำแหน่ง จากรายงานก่อนหน้าที่ระบุว่าเพิ่มขึ้น 119,000 ตำแหน่ง ในขณะที่ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวขึ้น 1% ในเดือน เม.ย. ต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4% นับเป็นการส่งสัญญาณล่าสุดถึงการชะลอตัวของกิจกรรมในภาคการผลิตสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในภูมิภาคจากอินเดีย หลังโรงกลั่นหยุดซ่อมบำรุงหลายแห่ง
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของโอกาสการในเคลื่อนย้ายน้ำมันดีเซลจากเอเชียไปยังยุโรป อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากออสเตรเลียปรับตัวลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ ไทยออยล์คาดเบรนท์จะอยู่ที่กรอบ 98 - 106 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสที่ 90 -98 เหรียญฯ วันนี้จับตาการการประชุมธนาคารกลางสหภาพยุโรปและอังกฤษ และคืนนี้ติดตามยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ และยอดคำสั่งซื้อโรงงานเยอรมนี
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพฤหัส: การประชุมธนาคารกลางยุโรปและอังกฤษ ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ยอดคำสั่งซื้อโรงงานเยอรมนี
วันศุกร์: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน การผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนี
วันเสาร์: ดุลการค้าจีน
วันอาทิตย์: ดัชนีราคาผู้บริโภค การผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดขายปลีกจีน
- การประชุมธนาคารยุโรปในวันที่ 6 มิ.ย. นี้ จะมีมุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร หลังการประชุมในครั้งที่ผ่านมามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก 0.75% เหลือ 0.5%
- จับตาสถานการณ์ความไม่สงบในซีเรีย หลังล่าสุดรัสเซียได้ออกมาประณามมติของสหภาพยุโรปที่จะไม่ต่ออายุสนธิสัญญาห้ามขนถ่ายอาวุธให้กับกลุ่มกบฏซีเรีย โดยรัสเซียเตรียมส่งขีปนาวุธต้านอากาศยานไปยังซีเรียเพื่อยับยั้งการแทรกแซงของต่างชาติ
- การซ่อมบำรุงของแหล่งน้ำมันดิบในแถบทะเลเหนือที่จะเริ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. เป็นเวลากว่า 20 วัน ที่จะทำให้อุปทานน้ำมันดิบบางส่วนหายไป
- จับตาความรุนแรงในอิรัก ทั้งในเมืองหลวงแบกแดดและเขตปกครองตนเองชาวเคิร์ดทางตอนเหนือที่มีปัญหาข้อพิพาทในการแบ่งผลประโยชน์ด้านน้ำมันกับรัฐบาลอิรัก
- ความขัดแย้งระลอกใหม่ระหว่างซูดานกับซูดานใต้ โดยล่าสุดซูดานขู่ที่จะปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบหากซูดานใต้สนับสนุนกลุ่มกบฎในซูดาน
ข่าวเด่น