ศูนย์ภูมิอากาศ สานักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา แจงปรากฏการณ์เกาะความร้อน ( Urban heat Island) เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง ในอนาคตอันใกล้ เป็นที่คาดว่าอัตราการขยายตัวของเมืองจากทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 70% ของประชากรโลก
ขณะเดียวกันการรวมตัวของชุมชนเมืองและการย้ายถิ่นฐานของประชากรจากชนบทไปยังพื้นที่ในเมือง / นอกเมืองมีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจ ความวิตกกังวลที่มีมากขึ้น จากผลกระทบที่จะตามมาจากการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต
ความเป็นเมืองจะส่งผลทางลบต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ตามมาคือ การเพิ่มขึ้นของประชากร การเพิ่มมลพิษ ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของชั้นบรรยากาศและพื้นผิวดิน ผลพวงดังกล่าวก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์เกาะความร้อน Urban heat Island” หรือบางคนให้นิยามเป็น "โดมความร้อน" เป็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่เกิดจากมนุษย์คือการที่อากาศใกล้พื้นดินในเขตชุมชนเมืองที่มีตึกรามบ้านช่องอยู่เป็นจานวนมาก มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณที่เป็นป่าไม้ที่อยู่ถัดออกไปรอบๆ
Source : weatherquestions.com
ปรากฏการณ์เกาะความร้อนนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร การที่ชุมชนเมืองประกอบด้วยอาคารบ้านเรือนและตึกสูงๆ ทาให้มีวัสดุที่คอยดูดซับความร้อนโดยตรงจากแสงอาทิตย์อยู่มากมาย รวมไปถึงความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง ไอเสียที่มาจากรถยนต์ มลพิษต่างๆ ทาให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกเฉพาะบริเวณได้ อีกทั้งฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในอากาศก็เป็นตัวดูดซับความร้อนไว้เพิ่มมากขึ้น ต้นไม้ที่เคยทาหน้าที่คอยดูดซับรังสีของดวงอาทิตย์ แล้วเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสงมีน้อยลง จึงทาให้แสงอาทิตย์ที่ส่องลงมาถึงวัตถุเต็มๆ ความร้อนก็จะถูกดูดซับไว้และทาให้อากาศร้อนขึ้น ความร้อนที่ปล่อยออกจากเครื่องปรับอากาศของอาคาร โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งก่อความร้อนอื่นๆในเมือง ต่างมีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนได้เช่นกัน รวมทั้งบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น มลภาวะในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ มีส่วนเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของชั้นบรรยากาศทั้งสิ้น
นอกจากผลกระทบที่เห็นเด่นชัดเกี่ยวกับอุณหภูมิแล้ว ปรากฏการณ์เกาะความร้อนยังมีผลกระทบด้านอุตุนิยมวิทยาอื่นด้วย เช่นการเปลี่ยนรูปแบบของลมประจาถิ่น การเกิดเมฆ หมอก ความชื้นและอัตราของหยาดน้าฟ้า (Precipitation - ฝน หิมะ น้าค้าง ฯลฯ ) เนื่องจากกระบวนการพาความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ ที่มีต่อพื้นโลก ทาให้มวลอากาศที่อยู่ใกล้พื้นโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น หากมีความชื้นพอเหมาะ เมื่อลอยสูงขึ้นไปอาจก่อตัวเป็นเมฆและฝน
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น มีมลพิษที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานเชื้องเพลิง และมีแหล่งไอเสียที่มาจากรถยนต์ ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่เสี่ยงของการเกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อน Urban heat Island ได้เป็นอย่างดี ผลกระทบที่ตามมาที่สังเกตเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ความรู้สึกที่ร้อนขึ้นในแต่ละฤดูกาล เช่น ปี พ.ศ. 2555 กรุงเทพมหานครมีอากาศร้อนที่สุด เท่ากับสถิติเดิมที่เคยตรวจมา (เดือนเมษายน พ.ศ. 2522) วัดอุณหภูมิสูงที่สุดถึง 40.0 องศาเซลเซียส
อีกทั้งยังพบว่าอุณหภูมิสูงสุดรายวัน สูงถึง 37- 40องศาเซลเซียส ต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 10 วัน ซึ่งยังไม่เคยปรากฏมาก่อน ปี พ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานคร(สถานีอุตุนิยมวิทยากรุงเทพ) มีสถิติอุณหภูมิสูงที่สุดใหม่อยู่ในเดือนมีนาคม วัดอุณหภูมิสูงที่สุดได้ 40.1 องศาเซลเซียส ซึ่ง
ปัจจุบันเป็นสถิติใหม่ของกรุงเทพมหานคร (สถานีอุตุนิยมวิทยากรุงเทพ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สาหรับสถิติสูงที่สุดของกรุงเทพมหานคร 40.8 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ดอนเมือง)เดือนพฤษภาคม เป็นเดือนซึ่งอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนฤดูจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน ลักษณะอากาศจะแปรปรวน โดยในระยะ 4 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 -2556 พบว่า กรุงเทพมหานครมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่สถานีกรุงเทพฯ ตรวจวัดอุณหภูมิในตู้สกรีนสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส และในเดือนนี้ยังพบว่ามักเกิดพายุฟ้าคะนองที่รุนแรง และความรุนแรงของฝนมีมากขึ้น ปรากฏการณ์เกาะความร้อนอาจส่งผลให้เกิดลักษณะอากาศที่ผิดปกติเช่นนี้ อย่างไรก็ตามพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่กว้างใหญ่ หากทาการศึกษาเฉพาะที่ โดยเฉพาะเขตที่มีชุมชนและตึกสูงหนาแน่น มีมลพิษมาก อาจจะเห็นผลการศึกษาที่ชัดเจนมากขึ้น
ข่าวเด่น