|
|
|
|
|
|
เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ส.ค.ปรับลดลง 1.45 เหรียญฯ ปิดที่ 93.69 เหรียญ ส่วนเบรนท์ส่งมอบเดือน ส.ค.ปรับลดลง 1.24 เหรียญฯ ปิดที่ 100.91 เหรียญฯ
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังมีสรุปผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยท่าทีการชะลอนโยบาย QE ด้วยการถอนการซื้อพันธบัตรจำนวน 8.5 หมื่นล้านเหรียญฯ ต่อเดือน ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ในช่วงปลายปี และคาดว่าจะสามารถยุตินโยบายได้ภายในกลางปีหน้า หากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาเป็นไปตามที่คาดหมายไว้โดยเน้นไปที่อัตราการว่างงานจะต้องอยู่ที่ระดับ 6.5% ส่งผลต่อความไม่มั่นในต่อนักลงทุนทำให้มีการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงรวมทั้งน้ำมันอย่างหนักในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีการเทขายน้ำมันจากราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้าจากปัญหาความไม่สงบในซีเรียเพื่อทำกำไรระยะสั้น ทั้งนี้หากพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐานจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันดิบยังคงถูกกดดันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอุปทานโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นและอุปสงค์โลกที่ชะลอตัว ดังนั้นนักลงทุนจึงใช้โอกาสนี้ในการทำกำไรระยะสั้น ประกอบกับนักลงทุนยังกังวลต่อเศรษฐกิจจีนหลังตัวเลขเศรษฐกิจออกมาผิดหวังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันของจีนให้ปรับลดลงได้
+ ปริมาณน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามกำลังการขนส่งของท่อส่งน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับการกลับมาดำเนินการผลิตของโรงกลั่น บีพี ในรัฐดินเดียนา ที่กำลังการกลั่น 405,000 บาร์เรลต่อวัน ที่จะทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันดิบในสหรัฐฯปรับสูงขึ้น ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถดำเนินการกลั่นที่ระดับกำลังการผลิตสูงสุดในช่วงปลายเดือน ก.ค.
+ เหตุการณ์ความไม่สงบในซีเรียยังคงคุกรุ่น ล่าสุดได้มีการจัดประชุมกลุ่มประเทศพันธมิตร ที่กาตาร์ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา จำนวน 11 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เยอรมัน อิตาลี จอร์แดน ซาอุฯ กาตาร์ ตุรกี อียิปต์ และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อตกลงร่วมกันที่จะให้การสนันสนุนอาวุธและอุปกรณ์สนันสนุนภาคพื้นดินแก่ลุ่มผู้ประท้วงในซีเรียหากมีการร้องขอความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาประธานาธิบดีโอบามาได้ออกมากล่าวว่าสหรัฐฯ ไม่ได้มีเจตนาให้เหตุการณ์ความรุนแรงในซีเรียบานปลายออกไปและยังมองว่าปัญหาภายในของซีเรียจะสามารถหาทางออกได้แม้ว่าสหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ประท้วงก็ตาม ทั้งนี้ประธานาธิบดี ปูติน ของรัสเซีย ยังได้ออกมากล่าวเพิ่มเติมต่อสหรัฐฯว่า สหรัฐฯอาจจะต้องใช้ความระมัดระวัง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่อาวุธที่สหรัฐฯ ให้การสนันสนุนนั้นตกไปอยู่ในมือของกลุ่ม จาฮาบัต อัลนัสรา ที่สหรัฐฯ จัดว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายในตะวันออกกลางได้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานภายในภูมิภาคที่ตึงตัวมากขึ้น หลังเหตุการณ์ไฟไหม้โรงกลั่นในมาเลเซีย นอกจากนี้คาดว่ามาเลเซียอาจเปลี่ยนจากเดิมส่งออกเป็นนำเข้าน้ำมันเบนซินเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากเหตุการณ์ไฟไหม้โรงกลั่นในมาเลเซียเช่นเดียวกัน รวมถึงอุปสงค์จากทางอินโดนีเซียก่อนวันหยุดยาวช่วงเทศกางรอมฏอนที่ยังเป็นปัจจัยที่สนับสนุนราคาอยู่
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
สัปดาห์หน้าไทยออยล์คาดเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 100 - 108 เหรียญฯ ในขณะที่เวสต์เท็กซัสอยู่ในกรอบ 92 - 100 เหรียญฯ โดยติดตามทิศทางของนักลงทุนต่อท่าทีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ และดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (Ifo)ที่จะประกาศในคืนวันนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่
วันจันทร์: ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (Ifo)
วันอังคาร: ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ
วันพุธ: จีดีพี ไตรมาส1/56 (ประกาศครั้งสุดท้าย) ของสหรัฐฯ
วันพฤหัส: จีดีพี ไตรมาส 2/56 (ประกาศครั้งสุดท้าย) ของสหราชอาณาจักร การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล ยอดขายบ้านรอปิดการขาย ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่ 1)
วันศุกร์: การใช้จ่ายของผู้บริโภคฝรั่งเศส ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่2)
วันเสาร์: -
วันอาทิตย์: ดัชนีภาคการผลิตของจีน (ประกาศครั้งสุดท้าย) จากทาง HSBC และดัชนีภาคการผลิตของจีน (Official)
- การตอบรับของนักลงทุน หลัง FED ยืนยันจะยังคงดำเนินนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรมูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนต่อไป แต่ส่งสัญญาณว่าจะชะลอนโยบายในช่วงปลายปี และคาดว่าจะสามารถยุติการเข้าซื้อพันธบัตรได้ในช่วงกลางปีหน้า
- ความกังวลของตลาดต่อเหตุการณ์ความรุนแรงในซีเรียที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในตะวันออกกลางและกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบได้ หลังสหรัฐฯตัดสินใจให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงด้วยอาวุธและกองกำลังทางการทหาร
- ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งทะเลเหนือ คาดว่าจะลดลงอย่างน้อย 330,000 บาร์เรลต่อวัน ในช่วงปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลเป็นเวลา 20 วันในเดือน มิ.ย.
- สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างซูดานและซูดานใต้ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง หลังซูดานประกาศว่าจะหยุดการขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ผ่านพรมแดนของซูดานภายใน 60 วัน
- ทิศทางการบริหารประเทศของนายฮัสสันดีโรฮานี หลังรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน โดยตลาดมองว่านโยบายทางการต่างประเทศจะดำเนินแบบเผชิญหน้าน้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจรจากับชาติตะวันตกต่อกรณีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน
-การประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 27-28 มิ.ย. นี้ ตลาดคาดว่าจะมีความคืบหน้าในเรื่องของนโยบายทางการเงินของประเทศสมาชิกที่ชัดเจนมากขึ้น
- ทิศทางเศรษฐกิจจีนรวมทั้งท่าทีของรัฐบาลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาต่ำกว่าการคาดหมายของตลาดและนักวิเคราะห์
|
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
24 มิ.ย. 2556 เวลา : 11:04:27
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น