ฝ่ายกลยุทธ์และแผนธุรกิจ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สรุปรายงานสถานการณ์น้ำมันดิบในสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ราคาน้ำมันดิบ เบรนท์ (Brent) ลดลง 0.12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 104.13 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
น้ำมันดิบเวสท์ เท็กซัสฯ (WTI) เพิ่มขึ้น 0.34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลอยู่ที่ 96.66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.41 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ 102.08 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้น 0.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 118.99 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 1.80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 121.26 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่
ปัจจัยที่ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงบวก
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดขายยานยนต์ของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้น 1.8% เทียบกับปีก่อนหน้า จาก 0.7% ในเดือน เม.ย. 56 อีกทั้งกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) ของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้น 0.1% จากเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ของสหรัฐฯ ในช่วง 1 ปี สิ้นสุดเดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้น 1.7% เทียบกับช่วงก่อนหน้า โดยต่ำกว่าเป้า 2% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ
- ธนาคารกลางสหรัฐฯคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) สหรัฐฯ ในปี 57 ปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ระหว่าง 3.0%-3.5% จากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 2.9%-3.4%
- บริษัท UK Oil Movements รายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศ OPEC ไม่รวมแองโกลาและเอกวาดอร์เฉลี่ย 4 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ก.ค. 56 ลดลง 20,000 บาร์เรลต่อวัน จากค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ 23.84 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงลบ
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯจะลดปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลลงมาอยู่ที่ระดับ 6.5 หมื่นล้านดอลล่าสหรัฐฯต่อเดือนในเดือน ก.ย. 56 ( ลดลง 23% ) จากปัจจุบัน และคาดว่าจะหยุดใช้นโยบายการเงินผ่อนปรนเชิงปริมาณในเดือน มิ.ย. 57
- สำนักสถิติแห่งชาติสหราชอาณาจักรรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) ของสหราชอาณาจักรในเดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อนหน้า หรือ 2.7% จากปีก่อนหน้า จากเดิมอยู่ที่ 2.4% ในเดือน เม.ย. 56 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
- Joint Organisations Data Initiative (JODI) รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดีอาระเบียในเดือน เม.ย. 56 เพิ่มขึ้น 0.3% จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 7.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- Department of Mineral Resources ของรัฐ North Dakota สหรัฐฯ เผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (Shale Oil) จากแหล่ง Bakken ในรัฐ North Dakota ในเดือน เม.ย. 56 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 793,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้สภาวะอากาศในพื้นที่จะเย็นจัด และระบุว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 850,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในสิ้นปีนี้
- EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด วันที่ 14 มิ.ย. 56 เพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 394.1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลง
แนวโน้มราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเนื่องจากความกังวลต่อเนื่องว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะลดปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล โดยนักวิเคราะห์ Bloomberg คาดว่า Fed จะลดปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลลงเป็น 6.5 หมื่นล้านต่อเดือนในเดือน ก.ย. 56 ที่จะถึงนี้ และคาดว่าจะหยุดนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนเชิงปริมาณหรือการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในเดือน มิ.ย. 57 ทั้งนี้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นกดดันราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามบริษัท Enbridge Inc. ของแคนาดาปิดดำเนินการท่อขนส่ง Oil Sand เป็นจำนวน 3 ท่อเนื่องจากเกิดเหตุรั่วไหลทำให้ไม่สามารถขนส่งน้ำมันดิบไปยังสหรัฐฯ ได้ และปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิรักในเดือน พ.ค. 56 ลดลง 5.4% หรือ 180,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 2.48 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Commodity Futures Trading Commission (CFTC) รายงาน กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มสถานะสัญญาซื้อสุทธิ (Net Long Position) น้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า Nymex ที่นิวยอร์ก และ ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 มิ.ย. 56 เพิ่มขึ้น 39,667 สัญญา เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ 311,665 สัญญา
ทางเทคนิคคาดว่าสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันดิบ Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 100.5- 105.4 เหรียญสหรัฐฯต่อ บาร์เรล WTI จะเคลื่อนไหวในกรอบ 91.3 – 95.0เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล Dubai จะเคลื่อนไหวในกรอบ 97.52 – 102.44 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
อุปสงค์ Gasoline ของประเทศตะวันออกกลางชะลอตัวเนื่องจากผู้ค้าเก็บสำรองน้ำมันเพียงพอและเตรียมพร้อมเข้าสู่เทศกาลถือศีลอด ทั้งนี้ปริมาณอุปสงค์ในอินเดียลดลงเช่นกันเนื่องจากฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง ส่วนทางด้านมาตรการลดเงินอุดหนุน (Subsidy) เชื้อเพลิงของรัฐบาลอินโดนีเซียผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงกว่า 65% ทำให้รัฐบาลสามารถปรับราคาขายปลีก Gasoline เพิ่มขึ้นได้ 44 % ทั้งนี้ ยังไม่มีกำหนดเวลาบังคับใช้ อย่างไรก็ตามอุปทาน Gasoline ในยุโรปตึงตัว เนื่องจากโรงกลั่นหลายแห่งหยุดดำเนินการเพื่อซ่อมบำรุง ขณะที่ผลต่างระหว่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ (Margins) ไม่จูงใจให้โรงกลั่นเพิ่มการผลิต
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
Platts คาดซาอุดิอาระเบียมีความต้องการ Gas Oil เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนของปีนี้ เนื่องจากความต้องการในประเทศปรับเพิ่มสูงขึ้น และโรงกลั่น Jubail (450 KBD) เปิดดำเนินการล่าช้ากว่ากำหนด อย่างไรก็ตามมาตรการลดเงินอุดหนุนราคาขายปลีกของดีเซลในอินโดนีเซียทำให้ราคาขายปลีกปรับตัวเพิ่มขึ้น 22%
ข่าวเด่น