เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ส.ค.ปรับเพิ่มขึ้น 1.49 เหรียญฯ ปิดที่ 95.18 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.25 เหรียญฯ ปิดที่ 101.16 เหรียญฯ + ท่อขนส่งน้ำมันดิบหลัก (Alberta oil lines) จากแคนาดามายังสหรัฐฯ ซึ่งมีกำลังถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จำเป็นต้องหยุดขนถ่ายน้ำมันกระทันหันหลังพบรอยรั่วในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากน้ำท่วมจากฝนที่ตกหนัก + ความต้องการน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่นน้ำมัน Whiting ของบริษัท BP ที่อินเดียนากำลังเปิดดำเนินการ หลังขยายกำลังการผลิตเป็น 405,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมา (จุดส่งมอบน้ำมันดิบ WTI) ลดลง + ผลสำรวจรอยเตอร์ (Reuters Poll) ณ วันที่ 21 มิ.ย. คาดว่าสัปดาห์นี้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลง 2 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงและโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มกำลังการผลิต ขณะที่คาดว่าปริมาณน้ำมันเบนซินและดีเซลคงคลังจะลดลง 0.8 และ 1.3 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ + เหตุการณ์ความไม่สงบในซีเรียยังคงดำเนินต่อ เป็นปัจจัยสนับสนุนต่อราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากกังวลว่าการส่งออกน้ำมันในตะวันออกกลางจะได้รับปัญหา - นักลงทุนเกิดความกังวลต่อความต้องการใช้พลังงานของจีน ซึ่งเป็นผู้ใช้พลังงานรายใหญ่ที่สุดของโลก หลังธนาคารกลางจีนเรียกร้องให้ธนาคารพาณิชย์ควบคุมความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขยายวงเงินสินเชื่อ หลังจากอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นพุ่งขึ้นสูงมากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารกลางยังคงมีทีท่าว่าจะยังไม่เข้าแทรกแซงตลาดด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติม ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเนื่องจากมาเลเซียมีความต้องการนำเข้ามากขึ้น หลังโรงกลั่นภายในประเทศไฟไหม้ ทำให้หยุดดำเนินการผลิตกระทันหัน อย่างไรก็ดีคาดว่าความต้องการนำเข้าจากอินโดนีเซียจะลดลง หลังรัฐบาลฯสามารถปรับราคาน้ำมันเบนซินหน้าปั๊มได้สำเร็จ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคยังคงตึงตัว อย่างไรก็ดีคาดว่าฝนจากมรสุมในอินเดียอาจทำให้ความต้องการน้ำมันดีเซลลดลง ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง สัปดาห์นี้ไทยออยล์คาดเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 96 - 106 เหรียญฯ ในขณะที่เวสต์เท็กซัสอยู่ในกรอบ 90 - 98 เหรียญฯ โดยติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะมีผลต่อการตัดสินใจชะลอมาตรการ QE ของเฟด และเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ วันอังคาร: ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ วันพุธ: จีดีพี ไตรมาส1/56 (ประกาศครั้งสุดท้าย) ของสหรัฐฯ วันพฤหัส: จีดีพี ไตรมาส 2/56 (ประกาศครั้งสุดท้าย) ของสหราชอาณาจักร การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล ยอดขายบ้านรอปิดการขาย ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่ 1) วันศุกร์: การใช้จ่ายของผู้บริโภคฝรั่งเศส ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่2) วันเสาร์: - วันอาทิตย์: ดัชนีภาคการผลิตของจีน (ประกาศครั้งสุดท้าย) จากทาง HSBC และดัชนีภาคการผลิตของจีน (Official) - การตอบรับของนักลงทุน หลัง FED ยืนยันจะยังคงดำเนินนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรมูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนต่อไป แต่ส่งสัญญาณว่าจะชะลอนโยบายในช่วงปลายปี และคาดว่าจะสามารถยุติการเข้าซื้อพันธบัตรได้ในช่วงกลางปีหน้า - ความกังวลของตลาดต่อเหตุการณ์ความรุนแรงในซีเรียที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในตะวันออกกลางและกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบได้ หลังสหรัฐฯตัดสินใจให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงด้วยอาวุธและกองกำลังทางการทหาร - ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งทะเลเหนือ คาดว่าจะลดลงอย่างน้อย 330,000 บาร์เรลต่อวัน ในช่วงปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลเป็นเวลา 20 วันในเดือน มิ.ย. - สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างซูดานและซูดานใต้ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง หลังซูดานประกาศว่าจะหยุดการขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ผ่านพรมแดนของซูดานภายใน 60 วัน - ทิศทางการบริหารประเทศของนายฮัสสันดีโรฮานี หลังรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน โดยตลาดมองว่านโยบายทางการต่างประเทศจะดำเนินแบบเผชิญหน้าน้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเจรจากับชาติตะวันตกต่อกรณีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน -การประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 27-28 มิ.ย. นี้ ตลาดคาดว่าจะมีความคืบหน้าในเรื่องของนโยบายทางการเงินของประเทศสมาชิกที่ชัดเจนมากขึ้น - ทิศทางเศรษฐกิจจีนรวมทั้งท่าทีของรัฐบาลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาต่ำกว่าการคาดหมายของตลาดและนักวิเคราะห์
ข่าวเด่น