เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ส.ค.ปรับเพิ่มขึ้น 0.14 เหรียญฯ ปิดที่ 95.32 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.10 เหรียญฯ ปิดที่ 101.26 เหรียญฯ + รายงานข้อมูลเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ ทำให้นักลงทุนมีความหวังกับเศรษฐกิจที่จะปรับตัวดีขึ้น โดยตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ ของเดือน พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 3.6% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3% +ประกอบกับยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค.ปรับตัวสูงขึ้นในรอบเกือบ 5 ปี ที่ 2.1% อยู่ที่ระดับ 476,000 ยูนิต ซึ่งมากกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ายอดขายบ้านจะปรับเพิ่มขึ้นเพียง 462,000 ยูนิต และ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของสหรัฐฯปรับสูงสุดในรอบ 5 ปี โดยจากเดือน พ.ค.อยู่ที่ 74.3 มาอยู่ที่ 81.4 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งก็ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน - อย่างไรก็ดีบริษัทท่อขนส่งน้ำมันดิบหลัก (Alberta oil lines) จากแคนาดามายังสหรัฐฯ ได้ออกมารายงานความคืบหน้าหลังหยุดขนถ่ายน้ำมันกระทันหันหลังพบรอยรั่วในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากน้ำท่วมจากฝนที่ตกหนัก โดยล่าสุดคาดว่าท่อสายหลักที่มีกำลังส่งน้ำมันดิบ 600,000 บาร์เรลต่อวันคาดว่าจะกลับมาใช้งานได้ในเร็ววัน แต่สำหรับท่อเล็กอีกท่อหนึ่งที่มีกำลังการส่งน้ำมันดิบ 345,000 บาร์เรลต่อวันต้องหยุดซ่อมรอยรั่วอีกสักระยะก่อนจะกลับมาใช้ได้อีกครั้ง - สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปิด ณ วันที่ 21 มิ.ย. 56 ว่าปรับลดลง 28,000 บาร์เรลมาอยู่ที่ 392.0 ล้านบาร์เรล ซึ่งปรับลดลงน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับลดลงถึง 1.7 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล และน้ำมันดีเซลคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 0.5 ล้านบาร์เรล ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ อย่างไรก็ดีความต้องการจากภูมิภาคยังอยู่ในระดับสูงก่อนเข้าเทศกาลรอมฎอน โดยเฉพาะจากทางเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประกอบกับตลาดมองว่าการปรับเพิ่มขึ้นราคาน้ำมันเบนซินหน้าปั๊มของอินโดนีเซียจะไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้เนื่องจากยังถือว่าราคาเบนซินหน้าปั๊มของอินโดนีเซียยังถูกมากเมื่อเทียบกับโลก ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีความต้องการจากเวียดนามและมาเลเซีย ประกอบกับความต้องปรับตัวสูงขึ้นจากอินโดนีเซียเนื่องจากเกิดการขาดแคลนก๊าซทำให้ต้องใช้น้ำมันในการผลิตไฟฟ้าแทน และยังมีการเริ่มเก็บสำรองน้ำมันก่อนเข้าเทศกาลรอมฎอน อีกทั้งคาดว่าจะมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในเดือน ก.ค. ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง สัปดาห์นี้ไทยออยล์คาดเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 96 - 106 เหรียญฯ ในขณะที่เวสต์เท็กซัสอยู่ในกรอบ 90 - 98 เหรียญฯ โดยติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะมีผลต่อการตัดสินใจชะลอมาตรการ QE ของเฟด และคืนนี้ติดตามการรายงาน จีดีพี ไตรมาส1/56 (ประกาศครั้งสุดท้าย) ของสหรัฐฯ ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ วันพุธ: จีดีพี ไตรมาส1/56 (ประกาศครั้งสุดท้าย) ของสหรัฐฯ วันพฤหัส: การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล ยอดขายบ้านรอปิดการขาย ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่ 1) วันศุกร์: ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่ 2) วันเสาร์: - วันอาทิตย์: ดัชนีภาคการผลิตของจีน (ประกาศครั้งสุดท้าย) จากทาง HSBC และดัชนีภาคการผลิตของจีน (Official) - การตอบรับของนักลงทุน หลัง FED ยืนยันจะยังคงดำเนินนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรมูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนต่อไป แต่ส่งสัญญาณว่าจะชะลอนโยบายในช่วงปลายปี และคาดว่าจะสามารถยุติการเข้าซื้อพันธบัตรได้ในช่วงกลางปีหน้า - ความกังวลของตลาดต่อเหตุการณ์ความรุนแรงในซีเรียที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในตะวันออกกลางและกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบได้ หลังสหรัฐฯ ตัดสินใจให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงด้วยอาวุธและกองกำลังทางการทหาร - ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งทะเลเหนือ คาดว่าจะลดลงอย่างน้อย 330,000 บาร์เรลต่อวัน ในช่วงปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลเป็นเวลา 20 วันในเดือน มิ.ย. - สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างซูดานและซูดานใต้ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง หลังซูดานประกาศว่าจะหยุดการขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ผ่านพรมแดนของซูดานภายใน 60 วัน - ทิศทางการบริหารประเทศของนายฮัสสันดีโรฮานี ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน ที่ตลาดมองว่านโยบายทางการต่างประเทศจะประนีประนอมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเจรจากับชาติตะวันตกในกรณีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน -การประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 27-28 มิ.ย. นี้ ตลาดคาดว่าจะมีความคืบหน้าในเรื่องของนโยบายทางการเงินของประเทศสมาชิกที่ชัดเจนมากขึ้น - ทิศทางเศรษฐกิจจีนรวมทั้งท่าทีของรัฐบาลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาต่ำกว่าการคาดหมายของตลาดและนักวิเคราะห์
ข่าวเด่น