เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.18 เหรียญฯ ปิดที่ 95.50 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.40 เหรียญฯ ปิดที่ 101.66 เหรียญฯ + ตลาดได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะยังเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ ภายหลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2556 ขยายตัวที่ระดับ 1.8% ต่อปี ต่ำกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวขึ้น 2.4% ต่อปี โดยสาเหตุหลักมาจากอัตราการใช้จ่ายผู้บริโภคและการลงทุนภาคธุรกิจที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง + นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรปพร้อมที่จะดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปอย่างไรก็ตาม ในประเด็นระยะเวลาการถอนนโยบายนั้นจำเป็นต้องรอสัญญาณที่ชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคก่อน + ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมนี (GFK ) ในเดือน ก.ค.พุ่งขึ้นแตะที่ระดับ 6.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เดือน ก.ย.50 หรือในรอบ 6 ปี ซึ่งสะท้อนถึงมุมมองเชิงบวกของผู้บริโภคที่ได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น - สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA)รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 มิ.ย. 56 ปรับเพิ่มขึ้น 18,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 394 ล้านบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินคงคลังปรับเพิ่ม 3.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 225 ล้านบาร์เรล ซึ่ง มากกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ถึง 3 เท่า และน้ำมันดิบคงคลังที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมา (จุดส่งมอบน้ำมันดิบ WTI) ปรับเพิ่มขึ้น 0.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 49.3 ล้านบาร์เรล ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดคาดว่าอุปสงค์ในช่วงหลังเทศกาลรอมฎอนจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ประกอบความต้องการนำเข้าของเวียดนามที่จะปรับตัวลดลงในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ อุปสงค์ภายในภูมิภาค โดยเฉพาะจากอินโดนิเซีย ประกอบกับอุปทานยังอยู่ในสภาวะตึงตัว อย่างไรก็ดี ตลาดคาดว่าอุปสงค์ในไตรมาสที่ 2 จะปรับตัวลดลง เนื่องจากการชะลอตัวของอัตราการเติบโตด้านเศรษฐกิจและปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่ปรับตัวสูงขึ้น ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง สัปดาห์นี้ไทยออยล์คาดเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 96 - 106 เหรียญฯ ในขณะที่เวสต์เท็กซัสอยู่ในกรอบ 90 - 98 เหรียญฯ คืนนี้ติดตามยอดขายบ้านรอปิดการขาย และยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานของสหรัฐฯ รวมถึงการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่ 1) ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ วันพฤหัส: การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล ยอดขายบ้านรอปิดการขาย ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่ 1) วันศุกร์: ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่2) วันเสาร์: - วันอาทิตย์: ดัชนีภาคการผลิตของจีน (ประกาศครั้งสุดท้าย) จากทาง HSBC และดัชนีภาคการผลิตของจีน (Official) - การตอบรับของนักลงทุน หลัง FED ยืนยันจะยังคงดำเนินนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรมูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนต่อไป แต่ส่งสัญญาณว่าจะชะลอนโยบายในช่วงปลายปี และคาดว่าจะสามารถยุติการเข้าซื้อพันธบัตรได้ในช่วงกลางปีหน้า - ความกังวลของตลาดต่อเหตุการณ์ความรุนแรงในซีเรียที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในตะวันออกกลางและกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบได้ หลังสหรัฐฯ ตัดสินใจให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงด้วยอาวุธและกองกำลังทางการทหาร - ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งทะเลเหนือ คาดว่าจะลดลงอย่างน้อย 330,000 บาร์เรลต่อวัน ในช่วงปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลเป็นเวลา 20 วันในเดือน มิ.ย. - สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างซูดานและซูดานใต้ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง หลังซูดานประกาศว่าจะหยุดการขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ผ่านพรมแดนของซูดานภายใน 60 วัน - ทิศทางการบริหารประเทศของนายฮัสสันดีโรฮานี ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน ที่ตลาดมองว่านโยบายทางการต่างประเทศจะประนีประนอมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเจรจากับชาติตะวันตกในกรณีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน -การประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 27-28 มิ.ย. นี้ ตลาดคาดว่าจะมีความคืบหน้าในเรื่องของนโยบายทางการเงินของประเทศสมาชิกที่ชัดเจนมากขึ้น - ทิศทางเศรษฐกิจจีนรวมทั้งท่าทีของรัฐบาลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาต่ำกว่าการคาดหมายของตลาดและนักวิเคราะห์
ข่าวเด่น