|
|
|
|
|
|
เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 1.55 เหรียญฯ ปิดที่ 97.05 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบเดือน ส.ค.ปรับเพิ่มขึ้น 1.16 เหรียญฯ ปิดที่ 102.82 เหรียญฯ
+ ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นวันที่สี่ติดต่อกัน โดยวันนี้ปรับตัวพุ่งกว่า $1 เนื่องจากตลาดมีความเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ หลังตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯ ไตรมาส 1 ขยายตัวต่ำกว่าคาด ประกอบกับยังคงต้องกระตุ้นตลาดแรงงานต่อ หลังปรับเป้าหมายอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ให้เหลือที่ 6.7% จากปัจจุบันที่ 7.6%
+ นอกจากนี้ในช่วงกลางสัปดาห์นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ให้ความมั่นใจแก่ตลาดว่าอีซีบีจะยังดำเนินการถอนนโยบายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปนั้น
+ เกิดเหตุความไม่สงบในเมืองทิโปลี ประเทศลิเบีย หลังเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา กลุ่มติดอาวุธ (กลุ่ม Zintan) ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลหลุมน้ำมันหลัก ได้เข้าโจมตีกองบัญชาการชาติที่มีหน้าที่ปกป้องหลุมน้ำมันทั่วประเทศ เนื่องจากความไม่พอใจที่ทางการได้มอบหมายให้กลุ่มอื่นขุดเจาะน้ำมัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และบาดเจ็บ 97 ราย
+ แหล่งผลิตน้ำมัน Buzzard ในทะเลเหนือ ลดปริมาณการผลิตลงจากระดับผลิตปกติที่ 200,000 บาร์เรลต่อวัน เหลือ 170,000 บาร์เรลต่อวันเมื่อวานนี้ โดยจะอยู่ที่ระดับนี้ประมาณ 5 วัน เนื่องจากดำเนินทำการเปลี่ยนวาล์ว ส่งผลให้ต้องหยุดระบบการใช้ก๊าซในหลุมที่ใช้เป็นแรงดันขับเคลื่อนน้ำมัน
+ ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ปรับลดลงเล็กน้อยที่ 9,000 ตำแหน่ง มาอยู่ที่ 346,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับการขยายตัวในระดับปกติของอัตราการจ้างงาน
+ รายได้ส่วนบุคคลของสหรัฐฯ เดือน พ.ค.ขยายตัวที่ 0.5% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งขยายตัวมากกว่าคาด โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนที่เติบโต 0.3% ส่วนรายจ่ายส่วนบุคคลกลับมาขยายตัวที่ 0.3% จากเดือนก่อนหน้า นำโดยการขยายตัวของรายจ่ายภาคสินค้าคงทน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ 0.1%
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดคาดว่าความต้องการหลังเทศกาลรอมฎอนในอินเดียจะแผ่วบางลง รวมทั้งการลดปริมาณการนำเข้าจากเวียดนามในช่วงไตรมาส 3 นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงคโปร์รายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 6%
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลียมีมากขึ้น ในขณะที่อุปทานที่ค่อนข้างจำกัด หลังจีนลดปริมาณการส่งออกลง นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงคโปร์รายสัปดาห์ปรับลดลงมากกว่า 9%
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
สัปดาห์หน้าไทยออยล์คาดเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 98 - 106 เหรียญฯ ในขณะที่เวสต์เท็กซัสอยู่ในกรอบ 92 - 100 เหรียญฯ คืนนี้ติดตามดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่
วันศุกร์: ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการประชุมคณะกรรมาธิการทางเศรษฐกิจยุโรป (วันที่2)
วันเสาร์: -
วันอาทิตย์: ดัชนีภาคการผลิตของจีน (ประกาศครั้งสุดท้าย) จากทาง HSBC และดัชนีภาคการผลิตของจีน (Official)
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้าได้แก่
วันจันทร์: ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
วันอังคาร: ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหภาพยุโรป ดัชนีภาคการบริการของจีน และยอดคำสั่งซื้อของโรงงานของสหรัฐฯ
วันพุธ: ดัชนีภาคการบริการของสหราชอาณาจักร ดัชนีภาคการบริการ และการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ
วันพฤหัส: การประชุมธนาคารกลางยุโรป จีดีพี ของสหภาพยุโรป (ประกาศครั้งสุดท้าย)ส่วนตลาดสหรัฐฯปิดเนื่องจากวันประกาศอิสรภาพ
วันศุกร์: ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานของเยอรมนี สถานการณ์การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานของสหรัฐฯ
- การตอบรับของนักลงทุน หลัง FED ยืนยันจะยังคงดำเนินนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรมูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนต่อไป แต่ส่งสัญญาณว่าจะชะลอนโยบายในช่วงปลายปี และคาดว่าจะสามารถยุติการเข้าซื้อพันธบัตรได้ในช่วงกลางปีหน้า
- การเจรจาระหว่างสหรัฐฯและรัสเซียเพื่อจัดตั้งการสัมนาความร่วมมือต่อปัญหาความไม่สงบในซีเรีย หลังล้มเหลวจากการหารือในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่สามารถตกลงกันได้ถึงตัวแทนกลุ่มผู้ประท้วงของซีเรีย รวมถึงประเทศต่างๆ ที่จะเข้ามาร่วมการสัมนา เบื้องต้นสหรัฐฯเสนอให้อิหร่านเข้าร่วมด้วยแต่รัสเซียยังไม่ยอมรับถึงข้อเสนอนี้
- รายงานการประชุมธนาคารกลางยุโรป วันที่ 4 ก.ค. ต่อทิศทางนโยบายการผ่อนปรนทางการเงินของสหภาพยุโรป หลังธนาคารกลางสหรัฐฯออกมาส่งสัญญาณชะลอมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้ หากเศรษฐกิจของสหรัฐฯฟื้นตัวตามคาด
- ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งทะเลเหนือ คาดว่าจะลดลงอย่างน้อย 330,000 บาร์เรลต่อวัน ในช่วงปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลเป็นเวลา 20 วันในเดือน มิ.ย.
- สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างซูดานและซูดานใต้ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง หลังซูดานประกาศว่าจะหยุดการขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ผ่านพรมแดนของซูดานภายใน 60 วัน
- ทิศทางเศรษฐกิจจีนรวมทั้งท่าทีของรัฐบาลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาต่ำกว่าการคาดหมายของตลาดและนักวิเคราะห์
|
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
28 มิ.ย. 2556 เวลา : 11:55:42
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น