เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 1.43 เหรียญฯ ปิดที่ 97.99 เหรียญ ส่วนเบรนท์ส่งมอบเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.84 เหรียญฯ ปิดที่ 103.00 เหรียญฯ + ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก หลังดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ ขยายตัว และแนวโน้มที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ จะอยู่ในระดับต่ำ เหตุเพราะไม่สามารถนำเข้าน้ำมันดิบจากแคนาดาได้ เนื่องจากท่อขนส่งน้ำมันมีปัญหาหลังประสบเหตุน้ำท่วมประกอบกับโรงกลั่นในสหรัฐฯ ที่จะกลับมาดำเนินการผลิต ในขณะที่เบรนท์ขยับตัวขึ้นเช่นกัน หลังดัชนีภาคการผลิตอังกฤษออกมาดี และปริมาณการผลิตในทะเลเหนือที่ลดลง รวมทั้งแหตุการณ์ความไม่สงบในอียิปต์ โดยในระหว่างวันราคา WTI และเบรนท์ทำสถิติห่างกันเพียง 4.75 เหรียญฯ แคบสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2554 + ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM) กลับมาขยายตัวที่ 50.9 จุด ในเดือน มิ.ย. จาก 49.0 จุด ในเดือน พ.ค. เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายในการก่อสร้างเดือน พ.ค. แตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และหันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น เช่น ทองคำ หุ้น และ น้ำมัน + โรงกลั่นน้ำมัน Whiting ของบริษัทบีพีในรัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐฯ ประกาศว่าได้เสร็จสิ้นการทดสอบระบบและได้ดำเนินหน่วยกลั่นขนาด 250,000 บาร์เรลต่อวันได้ หลังมีการปิดปรับปรุงเพื่อเพิ่มศักยภาพให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบจากแคนาดาได้ ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์ของน้ำมันดิบสูงขึ้นและปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับลดลง + ผลสำรววจรอยเตอร์ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 28 มิ.ย. คาดว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ จะปรับลดลง 2.7 ล้านบาร์เรล เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าน้ำมันดิบจากแคนาดาได้ และประเมินว่าโรงกลั่นเพิ่มกำลังการกลั่นขึ้น 0.2% มาที่ระดับ 90.4% + ดัชนีภาคการผลิตของอังกฤษ (PMI) เดือน มิ.ย. อยู่ที่ 52.5 จุด ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2554 โดยนักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจของอังกฤษจะดีขึ้นและขยายตัวได้ที่ 0.5% ในไตรมาส 2 - ดัชนีภาคการผลิตจีน (PMI) เดือน มิ.ย. อยู่ที่ 50.1 ลดลงจากเดือน พ.ค. ที่ระดับ 50.8 โดยนักวิเคราะห์กังวลว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 จะชะลอการเติบโตลง ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการนำเข้าจากอินโดนีเซียในช่วงก่อนเทศกาลรอมฎอน ประกอบอุปทานที่ลดลงจากไต้หวัน หลังโรงกลั่นขยายเวลาการปิดซ่อมบำรุงหน่วยผลิตน้ำมันเบนซิน ทำให้ไม่มีการส่งออกจากไต้หวันในเดือน ก.ค. และมีความเป็นไปได้ที่จะไม่มีการส่งออกในเดือน ส.ค. เช่นกัน ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากแรงซื้อจากอินโดนีเซียในช่วงเทศกาลรอมฎอน อย่างไรก็ดีอุปทานในตลาดเพิ่มมากขึ้น หลังอุปสงค์ในอินเดียลดลงเพราะเริ่มเข้าช่วงมรสุม นอกจากนี้ทั้งโรงกลั่นในอินเดีย 2 แห่งกลับมาดำเนินการ ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง สัปดาห์นี้ไทยออยล์คาดเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 98 - 106 เหรียญฯ ในขณะที่เวสต์เท็กซัสอยู่ในกรอบ 92 - 100 เหรียญฯ ตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในคืนนี้ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหภาพยุโรป ดัชนีภาคการบริการของจีน และยอดคำสั่งซื้อของโรงงานของสหรัฐฯ รวมทั้งติดตามเหตุการณ์ในตะวันออกกลางที่มีโอกาสทำให้ราคาน้ำมันดีดตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ วันอังคาร: ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหภาพยุโรป ดัชนีภาคการบริการของจีน และยอดคำสั่งซื้อของโรงงานของสหรัฐฯ วันพุธ: ดัชนีภาคการบริการของสหราชอาณาจักร ดัชนีภาคการบริการ และการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ วันพฤหัส: การประชุมธนาคารกลางยุโรป จีดีพี ของสหภาพยุโรป (ประกาศครั้งสุดท้าย)ส่วนตลาดสหรัฐฯปิดเนื่องจากวันประกาศอิสรภาพ วันศุกร์: ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานของเยอรมนี สถานการณ์การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานของสหรัฐฯ - การตอบรับของนักลงทุน หลัง FED ยืนยันจะยังคงดำเนินนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรมูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนต่อไป แต่ส่งสัญญาณว่าจะชะลอนโยบายในช่วงปลายปี และคาดว่าจะสามารถยุติการเข้าซื้อพันธบัตรได้ในช่วงกลางปีหน้า - ทิศทางเศรษฐกิจจีนรวมทั้งท่าทีของรัฐบาลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาต่ำกว่าการคาดหมายของตลาดและนักวิเคราะห์ - รายงานการประชุมธนาคารกลางยุโรป วันที่ 4 ก.ค. ต่อทิศทางนโยบายการผ่อนปรนทางการเงินของสหภาพยุโรป หลังธนาคารกลางสหรัฐฯออกมาส่งสัญญาณชะลอมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้ หากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ฟื้นตัวตามคาด - การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซียเพื่อจัดตั้งการสัมนาความร่วมมือต่อปัญหาความไม่สงบในซีเรีย หลังล้มเหลวจากการหารือในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่สามารถตกลงกันได้ถึงตัวแทนกลุ่มผู้ประท้วงของซีเรีย รวมถึงประเทศต่างๆ ที่จะเข้ามาร่วมการสัมนา เบื้องต้นสหรัฐฯ เสนอให้อิหร่านเข้าร่วมด้วยแต่รัสเซียยังไม่ยอมรับถึงข้อเสนอนี้ - ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งทะเลเหนือ คาดว่าจะลดลงอย่างน้อย 330,000 บาร์เรลต่อวัน ในช่วงปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลเป็นเวลา 20 วันในเดือน มิ.ย. รวมทั้งอุปทานจากแหล่งผลิตน้ำมัน Buzzard ในทะเลเหนือ ลดปริมาณการผลิตลงจากระดับผลิตปกติที่ 200,000 บาร์เรลต่อวัน เหลือ 170,000 บาร์เรลต่อวัน ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ - สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างซูดานและซูดานใต้ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง หลังซูดานประกาศว่าจะหยุดการขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ผ่านพรมแดนของซูดานภายใน 60 วัน
ข่าวเด่น