ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ส.ค. ปรับเพิ่ม 0.39 เหรียญฯ ปิดที่ 103.53 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ส.ค.ปรับเพิ่ม 0.38 เหรียญฯ ปิดที่ 107.81 เหรียญฯ
+ สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ณ วันที่ 5 ก.ค.56 ว่าปรับลดลง 9 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ 376.7 ล้านบาร์เรล ซึ่ง มากกว่าที่คาดเพียง 3.3 ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงถึง 0.3 ล้านบาร์เรล์ต่อวันมาอยู่ที่ 7 ล้านบาร์เรล์ต่อวัน ในขณะที่โรงกลั่นน้ำมัน กลั่นน้ำมันเพิ่มถึง 46,000 บาร์เรล์ต่อวัน ส่วนน้ำมันเบนซินคงคลังปรับลดลง 3.5 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล
+ ตลาดยังกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ล่าสุดมีเหตุการณ์คาร์บอมบ์ที่เมืองเบรุต ประเทศเลบานอนในบริเวณที่อยู่อาศัยของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่สนับสนุนประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดผู้นำซีเรีย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บถึง53 ราย
- ราคาน้ำมันดิบไม่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้สูงมาก จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นสูงสุดเทียบกับค่าสกุลเงินหลักในรอบสามปีที่ผ่านมาเนื่องจากตัวเลขการจ้างงานสหรัฐในเดือนมิ.ย.ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาดมีความเชื่อมั่นว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มชะลอมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ(QE) ในเร็ววันนี้ นอกจากนี้ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงหลังบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ปรับลดเครดิตของประเทศอิตาลีจากระดับ BBB+ มาเป็น BBB
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อในจีนยังคงอ่อนตัว โดยดัชนีราคาผู้บริโภคจีนเดือนมิ.ย. สูงขึ้น 2.7% ซึ่งสูงกว่าเดือนพ.ค.ที่ระดับ 2.1% ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตจีนเดือนมิ.ย.ต่ำลง 2.7% ซึ่งต่ำลง 16 เดือนติดกัน โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวช้าลงเนื่องมาจากการส่งออกที่ลดลงและอุปสงค์ที่อ่อนตัว
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีแรงซื้อน้ำมันเบนซินสำหรับเดือนสิงหาคมจากอินโดนิเซีย
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์จากทางตะวันออกกลางปรับตัวลดลงหลังฤดูร้อนกำลังสิ้นสุด ในขณะที่มีอปุทานจากอินเดียออกมาสู่ตลาดมากขึ้น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
สัปดาห์นี้ไทยออยล์คาดเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 102 - 110 เหรียญฯ ในขณะที่เวสต์เท็กซัสอยู่ในกรอบ 98 - 106 เหรียญฯ ติดตามรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่วนในคืนนี้ติดตามการประกาศตัวเลขดุลการค้าจีน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมัน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพุธ: ดุลการค้าจีน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมัน
วันพฤหัส: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ดุลบัญชี ยอดนำเข้า และรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ
วันศุกร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน และดัชนีผู้ผลิตสหรัฐฯ
- สถานการณ์ความตึงเครียดในอียิปต์โดยเฉพาะท่าทีของสหรัฐฯ หลังกองทัพประกาศยึดอำนาจและขับไล่ประธานาธิบดีมอร์ซีพ้นอำนาจหลังการปะทะระหว่างกลุ่มขับไล่ปละกลุ่มสนับสนุนประธานาธิบดีส่อเค้าบานปลาย โดยล่าสุดกองทัพอียิปต์ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว
- ปริมาณผลิตและส่งออกน้ำมันดิบจากลิเบียหลังเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน จาก 1.60 ล้านบาร์เรลต่อวันที่สามารถผลิตได้ในช่วงก่อนหน้านี้
- รายงานน้ำมันเดือนก.ค.โดย IEA, EIA และ OPEC ว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันโลกลงอีกหรือไม่ หลังก่อนหน้านี้ประกาศปรับลดหลายครั้ง
- ติดตามรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีการประชุมไปเมื่อวันที่18-19 มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่าจะมีการระบุว่าธนาคารฯ จะเริ่มชะลอมาตรการ QE เมื่อไร
ข่าวเด่น