ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ส.ค. ปรับเพิ่ม 2.99 เหรียญฯ ปิดที่ 106.52 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ส.ค.ปรับเพิ่ม 0.70 เหรียญฯ ปิดที่ 108.51 เหรียญฯ + สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA)รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ก.ค. 56 ปรับลดลงเกือบ 10 ล้านบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินคงคลังปรับลดลง 2.63 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 221 ล้านบาร์เรล เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันเบนซินที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนับเป็นการขยายตัวกว่า 2.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า + รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) (FOMC) ที่มีการประชุมไปเมื่อวันที่18-19 มิ.ย. ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าเฟดจะยังไม่มีมาตรการชะลอการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) จนกว่าจะเห็นสัญญานที่ชัดเจนของการฟื้นตัวของสภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน - กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) คาดว่าอุปสงค์น้ำมันดิบของโลกในปี 57 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.04 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากการฟื้นตัวของสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ในขณะที่อุปทานจากกลุ่มนอกโอเปกคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้คาดว่าโอเปกต้องปรับลดกำลังการผลิตลง หากต้องการพยุงราคาน้ำมันไม่ให้ปรับตัวลดลงมากนัก - สำนักงานศุลกากรของจีน รายงานตัวเลขการส่งออก-นำเข้า ประจำเดือน มิ.ย.56 ซึ่งการส่งออกปรับตัวลดลง 3.1% สวนทางกับการคาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 4% ขณะที่การนำเข้าปรับตัวลดลง 0.7% สวนทางกับการคาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% โดยการน้ำเข้าน้ำมันในช่วงครึ่งแรกของปีของจีนปรับตัวลดลง 1.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 5.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากราคานำมันเบนซินสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นจากแรงซื้อที่เข้ามาในตลาด ประกอบกับตลาดได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากเวียดนามและอินโดนีเซีย ขณะที่อุปทานในภูมิภาคยังอยู่ในสภาวะตึงตัว ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากแรงหนุนของอุปสงค์จากอินโดนีเซียและตะวันออกกลางที่อ่อนตัวลง ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง สัปดาห์นี้ไทยออยล์คาดเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 102 - 110 เหรียญฯ ในขณะที่เวสต์เท็กซัสอยู่ในกรอบ 100-108 เหรียญฯ ติดตามรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่วนในคืนนี้ติดตามดุลบัญชีและยอดนำเข้าของสหรัฐฯ รวมถึงยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันพฤหัส: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ดุลบัญชี ยอดนำเข้า และรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ วันศุกร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซน และดัชนีผู้ผลิตสหรัฐฯ - สถานการณ์ความตึงเครียดในอียิปต์โดยเฉพาะท่าทีของสหรัฐฯ หลังกองทัพประกาศยึดอำนาจและขับไล่ประธานาธิบดีมอร์ซีพ้นอำนาจหลังการปะทะระหว่างกลุ่มขับไล่ปละกลุ่มสนับสนุนประธานาธิบดีส่อเค้าบานปลาย โดยล่าสุดกองทัพอียิปต์ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว - ปริมาณผลิตและส่งออกน้ำมันดิบจากลิเบียหลังเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน จาก 1.60 ล้านบาร์เรลต่อวันที่สามารถผลิตได้ในช่วงก่อนหน้านี้ - รายงานน้ำมันเดือนก.ค.โดย IEA, EIA และ OPEC ว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันโลกลงอีกหรือไม่ หลังก่อนหน้านี้ประกาศปรับลดหลายครั้ง - ติดตามรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีการประชุมไปเมื่อวันที่18-19 มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่าจะมีการระบุว่าธนาคารฯ จะเริ่มชะลอมาตรการ QE เมื่อไร
ข่าวเด่น