ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ก.ย. เพิ่มขึ้น 0.10 เหรียญฯ ปิดที่ 105.49 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ก.ย. เพิ่มขึ้น 0.46 เหรียญฯ ปิดที่ 107.65 เหรียญฯ
+ ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจเยอรมันนี อังกฤษและสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเยอรมัน (IFO Business Climate)ในเดือนก.ค.ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 106.2 จาก 105.9 ในเดือนก่อนหน้า ผลิตภัณฑ์มวลรวม(GDP)ในประเทศอังกฤษเติบโต 0.6% ในไตรมาสที่สอง เติบโตมากกว่าไตรมาสแรกที่ 0.3% ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯเดือนมิ.ย.ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม เพิ่มขึ้น 4.2%มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่2.3% อย่างไรก็ตามยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานปรับเพิ่มขึ้น 7,000 ตำแหน่ง มาอยู่ที่ 343,000 ตำแหน่ง
+ การประท้วงหยุดงานของพนักงานบริษัท Petrobras ที่บริเวณแท่นขุดเจาะ ณ เมือง Campo ประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผลให้แท่นขุดเจาะสองแท่นต้องหยุดดำเนินการไปหลายชั่วโมง ซึ่งเป็นผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบหายไปเล็กน้อยประมาณ 10,000 บาร์เรล
+/- สหภาพแอฟริกันทำหน้าที่เป็นตัวกลางเจรจาขอให้ซูดานเลื่อนกำหนดเส้นตายในการปิดท่อขนส่งน้ำมันที่จะขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ผ่านพรหมแดนของซูดานออกไปเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้หาข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งเหตุการณ์การไม่ลงรอยกันของซูดานและซูดานใต้สร้างความกังวลว่าจะเกิดภาวะอุปทานตึงตัวในตลาด เนื่องจากหากซูดานระงับการขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ผ่านท่อแล้ว จะทำให้อุปทานหายไป 3 แสนบาร์เรลต่อวัน
- สำนักงานด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA)รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2533 ที่ระดับ 7.56ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำน้ำมันดิบที่แทรกตัวอยู่ในชั้นหินดินดาน(Tight Oil)ออกมาใช้ได้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ อันเป็นผลมาจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงค์โปร์ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์การใช้น้ำมันดีเซลได้เบาบางลงในช่วงใกล้สิ้นเทศกาลถือศีลอด และช่วงใกล้หมดฤดูร้อนในปะเทศแถบตะวันออกกลาง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้ายังคงเคลื่อนไหวในกรอบเดิม โดยเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104 - 110 เหรียญฯ ขณะที่เวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 103-109 เหรียญฯ จับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า และการประกาศตัวเลขความรู้สึกผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯในคืนนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่
วันจันทร์: ยอดขายบ้านรอปิดการขายสหรัฐฯ และผลสำรวจภาคอุตสาหกรรมรัฐดัลลัส
วันอังคาร: ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ความรู้สึกผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (Gfk index) และยูโรโซน
วันพุธ:จีดีพี ไตรมาส 2/56 และการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตของเมืองชิคาโก รวมถึงอัตราการว่างงานเยอรมนีและยูโรโซน
วันพฤหัส: ยอดขายรถ ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ตัวเลขการใช้จ่ายภาคการก่อสร้าง และดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ (ISM and PMI index) รวมถึงดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) และดัชนีภาคการผลิตจีน (Official and HSBC PMI)
วันศุกร์: รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล ยอดสั่งซื้อโรงงาน การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิตยูโรโซน
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 30 - 31 ก.ค. นี้ ว่าจะมีท่าทีต่อแผนการลดหรือยุติมาตรการ QE4 เพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อความกังวลของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ และความต้องการใช้น้ำมัน แม้ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯเคยได้ให้สัมภาษณ์ถึงโอกาสของการชะลอ QE ภายในปีนี้ แต่ยังไม่มีการกำหนดเวลาล่วงหน้า
- ติดตามตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับลดลงต่อเนื่อง หลังปรับลดลงมาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เป็นปริมาณมากถึง 30 ล้านบาร์เรล
- การประท้วงค่างแรงงานที่ยืดเยื้อในลิเบียและความไม่สงบในซีเรีย ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องยังส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบของภูมิภาค
- การส่งออกน้ำมันของซูดานใต้ปริมาณ บาร์เรลต่อวัน จะหยุดลงในช่วงสิ้นเดือน ก.ค. นี้ ตามที่ซูดานประกาศไว้หรือไม่ โดยล่าสุดซูดานใต้พยายามติดต่อกับจีนเพื่อเป็นตัวกลางในการเจรจาเพื่อให้สามารถส่งออกน้ำมันได้ต่อ เนื่องจากจีนถือเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในซูดานใต้
-จับตาความไม่ลงรอยกันทางการเมืองในอียิปต์ ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและต่อต้านประธานาธิบดีมอร์ซี ว่าจะรุนแรงขึ้นมาอีกหรือไม่ ซึ่งอาจส่งผลให้เหตุการณ์ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้
ข่าวเด่น