|
|
|
|
|
|
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ก.ย. เพิ่มขึ้น 1.95 เหรียญฯ ปิดที่ 105.03 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ก.ย. เพิ่มขึ้น 0.79 เหรียญฯ ปิดที่ 107.70 เหรียญฯ
+ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แถลงการณ์ว่าจะยังคงเดินหน้านโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)ต่อ เพื่อเป็นการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและภาคการจ้างงาน ทั้งนี้ที่ประชุมยังไม่มีความชัดเจนในประเด็นระยะเวลาที่จะชะลอนโยบายดังกล่าวแต่อย่างใด นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0 - 0.25% พร้อมเน้นย้ำว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเช่นนี้ต่อไป จนกว่าจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนของตลาดแรงงาน
+ โดยภายหลังการประชุม เฟดรายงานสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการขยายตัวในระดับปานกลางในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนในภาคธุรกิจขยายตัวในเกณฑ์ดี และตลาดแรงงานมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง
+ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงาน ตัวเลขประมาณการของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2/56 ขยายตัว 1.7% จากไตรมาส 1/56 ที่ขยายตัว 1.1%
+ ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ค. 56 ซึ่งสูงกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า นอกจากนั้น ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ ในเดือนมิ.ย. ถูกปรับทบทวนเป็นเพิ่มขึ้น 198,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่มีการรายงานว่าเพิ่มขึ้นเพียง 188,000 ตำแหน่ง
-/+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA)รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ก.ค. 56 ปรับเพิ่มขึ้น 0.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 364 ล้านบาร์เรล สวนทางจากการคาดการณ์ว่าจะลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 0.8 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 223 ล้านบาร์เรล สวนทางจากการคาดการณ์ว่าจะลดลง 0.3 ล้านบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบคงคลังที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมา (จุดส่งมอบน้ำมันดิบ WTI) ปรับลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 42 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย 55
+ ความรุนแรงในตะวันออกกลางยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีการรายงานว่าตัวเลขการส่งออกน้ำมันในลิเบียปรับตัวลดลงกว่า 70% เนื่องจากเหตุการณ์ประท้วงซึ่งส่งผลให้ช่องทางการส่งออกทางฝั่งตะวันออกถูกปิดตัวลง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการปรับตัวลดลงของอุปสงค์จากผู้ซื้อหลักอย่างอินโดนีเซียเมื่อใกล้สิ้นสุดเทศกาลรอมฎอน ประกอบกับมีอุปทานเข้ามาจากอินเดียและตะวันออกกลาง
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าอุปทานในตลาดอาจอยู่ในสภาวะตึงตัว เนื่องจากโรงกลั่นในไต้หวันมีแผนลดกำลังการผลิต ซึ่งส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในตลาดขาดหายไป
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวในกรอบเดิม โดยเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104 - 110 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสที่กรอบ 103-109 เหรียญฯ คืนนี้ติดตามยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน และดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซนและดัชนีภาคการผลิตจีน รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพฤหัส: ยอดขายรถ ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ตัวเลขการใช้จ่ายภาคการก่อสร้าง และดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ (ISM and PMI index) รวมถึงดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) และดัชนีภาคการผลิตจีน (Official and HSBC PMI) และการประชุมธนาคารกลางยุโรป
วันศุกร์: รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล ยอดสั่งซื้อโรงงาน การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิตยูโรโซน
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
- ติดตามตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับลดลงต่อเนื่อง หลังปรับลดลงมาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เป็นปริมาณมากถึง 30 ล้านบาร์เรล
- การประท้วงค่างแรงงานที่ยืดเยื้อในลิเบียและความไม่สงบในซีเรีย ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องยังส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบของภูมิภาค
- การส่งออกน้ำมันของซูดานใต้ปริมาณ บาร์เรลต่อวัน จะหยุดลงในช่วงสิ้นเดือน ก.ค. นี้ ตามที่ซูดานประกาศไว้หรือไม่ โดยล่าสุดสหภาพแอฟริกาได้เข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจากับซูดานเพื่อให้ซูดานใต้สามารถส่งออกน้ำมันได้ต่อไป
- จับตาความไม่ลงรอยกันทางการเมืองในอียิปต์ ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและต่อต้านประธานาธิบดีมอร์ซี ว่าจะรุนแรงขึ้นมาอีกหรือไม่ ซึ่งอาจส่งผลให้เหตุการณ์ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้
|
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
01 ส.ค. 2556 เวลา : 11:28:04
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น