ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ก.ย. ลดลง 0.38 เหรียญฯ ปิดที่ 106.56 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ก.ย. ลดลง 0.25 เหรียญฯ ปิดที่ 108.70 เหรียญฯ - ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงเนื่องจากอิหร่านและสหรัฐฯ ออกมาส่งสัญญาณถึงความพยายามในการยุติมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันดิบของอิหร่าน หลังนายฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีคนใหม่เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการวานนี้ หลังได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลกับการส่งออกน้ำมันของอิหร่านลง - กำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียล่าสุดปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 700,000 บาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 800,000 บาร์เรลต่อวัน การท่องเที่ยวหลังเทศกาลถือศีลอดจบลง ขณะที่ทางการลิเบียคาดว่าจะยุติการประท้วงที่ยืดเยื้อที่ท่าส่งออกน้ำมันหลักของประเทศ ซึ่งทำให้การผลิตลดลงจาก 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือเพียง 330,000 บาร์เรลต่อวัน ได้ในเร็ววันนี้ - แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Buzzard ในทะเลเหนือกลับมาดำเนินการอีกครั้ง หลังเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุงท่อส่งน้ำมันดิบ Forties เป็นเวลา 5 วัน โดยหลุม Buzzard นี้ถือเป็นหลุมที่มีการผลิตน้ำมันดิบได้มากถึง 200,000 บาร์เรลต่อวัน - ยอดค้าปลีกของยูโรโซนเดือน มิ.ย. ปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ 0.9% ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ 1.2% สาเหตุหลักมาจากยอดใช้จ่ายสินค้าภาคครัวเรือนที่ลดลง โดยยอดค้าปลีกปรับลดลงมากในเยอรมนีและสเปน อย่างไรก็ดีตัวเลขที่ปรับเพิ่มขึ้นของฝรั่งเศสส่งผลให้ภาพรวมไม่มากนัก + ดัชนีชี้วัดภาคการบริการของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี มาอยู่ที่ 56 สูงกว่าคาดที่ 53 จากยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน ที่ 57.7 นอกจากนี้ดัชนีภาคบริการยูโรโซนปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันมาอยู่ที่ 49.8 จาก 49.6 ในเดือน มิ.ย. ขณะที่ดัชนีภาคบริการของจีนยังทรงตัวอยู่ที่ 51.3 เท่ากับเดือนก่อนหน้า ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากแรงซื้อจากอินโดนีเซียคาดว่าจะลดลงในเดือน ก.ย. นี้ ขณะที่อุปทานจากอินเดียและตะวันออกกลางคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังการซื้อขายในตลาดเบาบาง และอุปทานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลังโรงกลั่นในเอเชียเหนือกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวในกรอบเดิม โดยเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104 - 110 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสที่กรอบ 103-109 เหรียญฯ ราคาได้รับแรงหนุนจากความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือทำให้เคลื่อนไหวในกรอบที่ไม่ต่ำมากนัก ส่วนคืนนี้ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ส.ค. โดย EIA รวมถึงดุลการค้าสหรัฐฯ ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันอังคาร: ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมัน การผลิตภาคอุตสาหกรรสหราชอาณาจักร และดุลการค้าสหรัฐฯ วันพุธ: - วันพฤหัส: ยอดค้าส่งและยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ และตัวเลขดุลการค้าเยอรมนี วันศุกร์: ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดุลการค้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน ปัจจัยที่น่าจับตามอง - รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ส.ค. ที่ประกาศโดย IEA และ OPEC ในวันที่ 9 ส.ค. นี้ ถึงแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันดิบในอนาคต - เหตุการณ์ความรุนแรงในอิรักที่ทวีความรุนแรงต่อเนื่อง สร้างความกังวลต่อปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศ ขณะที่การปิดซ่อมบำรุงท่าส่งน้ำมันในเดือน ก.ย. คาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกหายไป 400,000-500,000 บาร์เรลต่อวัน - ซูดานตัดสินใจเลื่อนเส้นตายการปิดท่อขนส่งน้ำมันที่จะขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ไปอีก 2 สัปดาห์ เป็นวันที่ 22 ส.ค. นี้ เพื่อให้สหภาพแอฟริกาเข้าตรวจสอบข้อกล่าวหาที่ว่า ซูดานใต้ให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏในซูดาน - ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ โดยสัปดาห์ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้น 0.4ล้านบาร์เรล หลังจาก 4 สัปดาห์ก่อนหน้าปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังบริเวณคุชชิ่ง โอคลาโฮมา หลังจากสัปดาห์ล่าสุดปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 55
ข่าวเด่น