ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ก.ย. ลดลง 0.93 เหรียญฯ ปิดที่ 104.37 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ก.ย. ลดลง 0.74 เหรียญฯ ปิดที่ 107.44 เหรียญฯ
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 จากการคาดการณ์ว่าปริมาณผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งทะเลเหนือจะเพิ่มขึ้นในเดือนหน้าหลังเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุงท่อส่งและแหล่งผลิตประกอบกับความวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลต่อความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่อาจได้รับผลกระทบ
- นอกจากนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาปริมาณผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ อยู่ที่ 7.56 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ ธ.ค. ปี 1989
+ แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันก็ยังได้รับแรงหนุน จากปัจจัยความไม่สงบของลิเบียที่ส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบของโลก โดยล่าสุดการส่งออกน้ำมันดิบอยู่ที่ 425,000 บาร์เรลต่อวัน จากปกติส่งออกส่งออกมากกว่า1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ส.ค. 56 ปรับลดลง 1.32 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 363.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่1.2 ล้านบาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 0.1 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 223.6 ล้านบาร์เรล สวนทางกับนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง
+ ขณะที่น้ำมันดิบคงคลังที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมา (จุดส่งมอบน้ำมันดิบ WTI) ปรับลดลง 2.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 39.9 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 55 โดยในช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมา ปรับลดลงกว่า 9.8 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากน้ำมันเบนซินคงคลังของสิงคโปร์ปรับลดลงติดต่อกันเป็น 3 สัปดาห์ ประกอบกับการนำเข้าจากสิงคโปร์ไปยังอินโดนีเซียมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามก็คาดว่าอุปสงค์จากอินโดนีเซียคาดว่าจะลดลงในเดือน ก.ย. นี้
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันดีเซลจะปรับลดลงในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันดีเซลคงคลังของสิงคโปร์ปรับลดลงไปในรอบต่ำสุด 3 สัปดาห์
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวในกรอบเดิม โดยเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104 - 110 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสที่กรอบ 103-109 เหรียญฯ ราคาได้รับแรงหนุนจากความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือทำให้เคลื่อนไหวในกรอบที่ไม่ต่ำมากนัก ส่วนคืนนี้ติดตามยอดค้าส่งและยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพฤหัส: ยอดค้าส่งและยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ และตัวเลขดุลการค้าเยอรมนี
วันศุกร์: ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดุลการค้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
- เหตุการณ์ความรุนแรงในอิรักที่ทวีความรุนแรงต่อเนื่อง สร้างความกังวลต่อปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศ ขณะที่การปิดซ่อมบำรุงท่าส่งน้ำมันในเดือน ก.ย. คาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกหายไป 400,000-500,000 บาร์เรลต่อวัน
- ซูดานตัดสินใจเลื่อนเส้นตายการปิดท่อขนส่งน้ำมันที่จะขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ไปอีก 2 สัปดาห์ เป็นวันที่ 22 ส.ค. นี้ เพื่อให้สหภาพแอฟริกาเข้าตรวจสอบข้อกล่าวหาที่ว่า ซูดานใต้ให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏในซูดาน
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ โดยสัปดาห์ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้น 0.4ล้านบาร์เรล หลังจาก 4 สัปดาห์ก่อนหน้าปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังบริเวณคุชชิ่ง โอคลาโฮมา หลังจากสัปดาห์ล่าสุดปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 55
- ติดตามการขอเจารจาระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน ในประเด็นโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งจะส่งผลให้สหรัฐฯ ลดมาตรการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่าน
ข่าวเด่น