ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ก.ย. ลดลง 0.97 เหรียญฯ ปิดที่ 103.4 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ก.ย. ลดลง 0.76 เหรียญฯ ปิดที่ 106.68 เหรียญฯ - ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากแผนการส่งออกน้ำมันดิบจากแหล่งทะเลเหนือในเดือน ก.ย. ที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 880,000 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 11% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุงท่อส่งและแหล่งผลิต ประกอบกับความวิตกกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ ฯ (เฟด) จะชะลอมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันของโลก + อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันก็ยังได้รับแรงหนุน จากปัจจัยความไม่สงบของลิเบียที่ส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบ โดยปริมาณการส่งออกของลิเบียลดลงมาอยู่ที่ 425,000 บาร์เรลต่อวัน จากปกติส่งออกส่งออกมากกว่า1 ล้านบาร์เรลต่อวัน + คาดว่าการส่งออกน้ำมันดิบBasra Light ของอิรักในเดือน ก.ย. จะลดลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 25% ของปริมาณน้ำมันดิบ Basra Light ทั้งหมด ซึ่งผลิตอยู่ที่ 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน + จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 6.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่ง เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มกำลังการผลิต ประกอบกับมีโรง condensate splitter โรงใหม่เริ่มดำเนินการผลิต + จำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นเพียง 5,000 ราย อยู่ที่ 333,000 ราย ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ 336,000 ราย + ยอดส่งออกเยอรมนีเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากความต้องการสินค้าของเยอรมนีในตลาดต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันเบนซิน และราคาน้ำมันมันดีเซล ตลาดปิดเนื่องในวันหยุด Hari Raya Puasa ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบเดิม โดยเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104 - 110 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสที่กรอบ 103-109 เหรียญฯ ส่วนคืนนี้ติดตามดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดุลการค้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันศุกร์: ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดุลการค้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน ปัจจัยที่น่าจับตามอง - เหตุการณ์ความรุนแรงในอิรักที่ทวีความรุนแรงต่อเนื่อง สร้างความกังวลต่อปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศ ขณะที่การปิดซ่อมบำรุงท่าส่งน้ำมันในเดือน ก.ย. คาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกหายไป 400,000-500,000 บาร์เรลต่อวัน - ซูดานตัดสินใจเลื่อนเส้นตายการปิดท่อขนส่งน้ำมันที่จะขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ไปอีก 2 สัปดาห์ เป็นวันที่ 22 ส.ค. นี้ เพื่อให้สหภาพแอฟริกาเข้าตรวจสอบข้อกล่าวหาที่ว่า ซูดานใต้ให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏในซูดาน - ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ โดยสัปดาห์ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้น 0.4ล้านบาร์เรล หลังจาก 4 สัปดาห์ก่อนหน้าปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังบริเวณคุชชิ่ง โอคลาโฮมา หลังจากสัปดาห์ล่าสุดปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 55 - ติดตามการขอเจารจาระหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน ในประเด็นโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งจะส่งผลให้สหรัฐฯลดมาตรการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่าน
ข่าวเด่น