|
|
|
|
|
|
น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ก.ย. ปรับลดลง 2.14 เหรียญฯ ปิดที่ 104.96 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ต.ค. เพิ่มขึ้น 0.25 เหรียญฯ ปิดที่ 110.15 เหรียญฯ (น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ต.ค. ปรับลดลง 1.75 เหรียญฯ ปิดที่ 105.11 เหรียญฯ)
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงหลัง นักลงทุนเทขายน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.ย. ที่สัญญาหมดอายุในวันที่ 20 ส.ค. รวมทั้งเหตุปัญหาท่อส่ง Seaway ปิดดำเนินการลง ทำให้ไม่สามารถส่งน้ำมันดิบ WTI จากเมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ไปยังโรงกลั่นในอ่าวเม็กซิโกได้
+/- ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังความวุ่นวายในตะวันออกกลางยังสร้างความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบ แต่ราคาถูกกดดันผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะมีรายงานออกมาในวันนี้ ซึ่งจะทำให้นักลงทุนคาดเดาได้ว่าเฟดจะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE) ลงในการประชุมครั้งหน้าหรือไม่
+ ความไม่สงบในลิเบียยังยืดเยื้อ หลังกลุ่มผู้ประท้วงของคนงานยังปิดท่าเรือ Es Sider ซึ่งเป็นท่าส่งออกขนาดใหญ่สุดในลิเบีย รวมทั้งปิดท่าเรืออื่นๆ ล่าสุดการปะทะกันที่ท่าเรือดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บด้วยเช่นกัน
+ สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงาน ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ณ วันที่ 16 ส.ค. 56 ปรับลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ว่าจะลดลงที่ 1.4 ล้านบาร์เรล ส่วนปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังลดลง 3.7 ล้านบาร์เรล มากกว่าคาดการณ์ว่าลดลงที่ 1.5 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับเพิ่ม 1.8 ล้านบาร์เรล มากกว่าคาดที่ 0.9 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานยังคงล้นตลาด และความต้องการค่อนข้างเงียบเหงาเนื่องจากหมดฤดูกาลท่องเที่ยวของสหรัฐฯ และความต้องการที่ลดลงจากอินโดนีเซีย
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ปรับตัวลดลงหลังฤดูร้อน และหลังจากเทศกาลถือศีลอด ประกอบกับน้ำมันดีเซลคงคลังที่อินโดนีเซียอยู่ระดับสูงจากปริมาณความต้องการใช้น้อยกว่าคาดในช่วงรอมฎอน
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบที่สูงขึ้นเล็กน้อย โดยเวสต์เท็กซัสที่กรอบ 104-110 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 106 - 112 เหรียญฯ ติดตามรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ และปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ในวันนี้ รวมทั้งตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และจีนที่จะประกาศในวันพฤหัสนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันจันทร์: -
วันอังคาร: -
วันพุธ: ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ และรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ
วันพฤหัส: ดัชนีชี้วัดภาคการผลิต (Flash PMI) และยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของจีน (HSBC Flash PMI) และยูโรโซน (Markit Mfg flash PMI) รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน
วันศุกร์: ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
- ความไม่สงบในอียิปต์ทวีความรุนแรงขึ้น หลังรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 1 เดือน สร้างความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันดิบในภูมิภาคตะวันออกกลาง
- การประท้วงปิดท่าเรือของคนงานบริษัทน้ำมันในลิเบียที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานทำให้การส่งออกน้ำมันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 400,000-500,000 บาร์เรลต่อวัน
- ความคืบหน้าของการขอเจรจาระหว่างประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านและสหรัฐฯ ในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งอาจจะส่งผลให้สหรัฐฯ ยอมลดมาตรการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่าน
- ซูดานตัดสินใจเลื่อนเส้นตายการปิดท่อขนส่งน้ำมันที่จะขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ไปเป็นวันที่ 6 ก.ย. นี้ เพื่อให้สหภาพแอฟริกาเข้าตรวจสอบข้อกล่าวหาที่ว่าซูดานใต้ให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏในซูดาน
|
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
21 ส.ค. 2556 เวลา : 13:17:34
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น