ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบร่วง หลังตลาดคลายความกังวลต่อซีเรีย


น้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบ ต.ค. ปรับลดลง 0.77 เหรียญฯ ปิดที่ 114.91 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ต.ค. ปรับลดลง 1.31 เหรียญฯ มาอยู่ที่ 107.23 เหรียญฯ
 
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดคลายความกังวลต่อทิศทางการใช้นโยบายทางการทหารของรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อซีเรีย หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ว่าสหรัฐฯ อาจจะโจมตีซีเรียแค่ในวงจำกัดเท่านั้น หลังคณะกรรมมาธิการต่างประเทศวุฒิสภาผ่านร่างแผนการใช้กำลังทหารโจมตีซีเรียแบบจำกัด
 
- ยอดนำเข้าสินค้ามายังสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือน ก.ค.เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดส่งออกลดลง 0.6% ส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ขยายตัว 13.3% เป็น 3.915 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ
 
- ยอดค้าปลีกยูโรโซนในเดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.1% จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดีการเพิ่มขึ้นยังคงน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.4% นอกจากนี้ Eurostat เผยจีดีพีไตรมาส 2/56 ของยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.3% จากไตรมาสก่อนหน้าเป็นไปตามคาดการณ์เมื่อวันที่ 14 ส.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีการขยายตัวของ จีดีพี ยังขยายตัวน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 0.5%
 
+ ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนในเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 51.5 จาก 50.5 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ มิ.ย. 2554
 
+ อย่างไรก็ดีความกังวลต่ออุปทานที่ขาดหายไปในลิเบียยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส โดยล่าสุดกำลังการผลิตในลิเบียปรับตัวลดลงจากระดับ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน เม.ย. มาอยู่ในระดับ 0.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเหตุการณ์ประท้วงปิดท่าเรือส่งออกน้ำมัน ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียลดลงเหลือเพียง 0.08 ล้านบาร์เรลต่อวัน  จากระดับ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน มิ.ย.
 
+ สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงาน ปริมาณน้ามันดิบคงคลังของสหรัฐฯ
ณ วันที่ 30 ส.ค. 56 ปรับลดลง 4.2 ล้านบาร์เรล มากกว่าคาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 1.3 ล้านบาร์เรล
 
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์จากอเมริกาและยุโรปยังคงเบาบาง อย่างไรก็ดี อุปทานเบนซินในภูมิภาคที่ลดลงเนื่องจากโรงกลั่นในประเทศมาเลเซียจำเป็นต้องหยุดดำเนินการผลิตกระทันหัน
 
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว่าอุปทานในภูมิภาคลดลง เนื่องจากโรงกลั่นในประเทศมาเลเซียและไต้หวันจำเป็นต้องหยุดดำเนินการผลิตและลดกำลังการผลิตกระทันหัน
 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบเดิม โดยเวสต์เท็กซัสที่กรอบ 105-111 เหรียญฯ ขณะที่เบรนท์
เคลื่อนไหวในกรอบ 110 - 116 เหรียญฯ โดยราคายังคงเคลื่อนไหวในกรอบสูงเนื่องจากสถานการณ์ในซีเรียยังไม่มีความแน่นอน ส่วนวันนี้ติดตามยอดขายร้านสาขา การจ้างงานภาคเอกชน ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ยอดสั่งซื้อโรงงาน และดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพฤหัสฯ: ยอดขายร้านสาขา การจ้างงานภาคเอกชน ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ยอดสั่งซื้อโรงงาน และดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ
วันศุกร์: การจ้างงานนอกภาคเกษตร
 
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
- สถานการณ์ในซีเรียที่ยังไม่มีความแน่นอน ซึ่งหากสหรัฐฯ ตัดสินใจเข้าแทรกแซงตามที่หลายฝ่ายคาดก็จะทำให้เหตุการณ์ยิ่งบานปลายและอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันของภูมิภาคตะวันออกกลาง
- ความรุนแรงในอียิปต์ที่ยังคงไร้ทางออก ล่าสุดซาอุดิอาระเบียได้ประกาศให้การสนับสนุนทางการเงินแก่อียิปต์ หากสหรัฐฯและยุโรปเพิกถอนการสนับสนุนอียิปต์เนื่องจากเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น
- การส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียยังคงปรับลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 200,000 บาร์เรลต่อวัน จาก 400,000 - 500,000 บาร์เรลต่อวันเมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องมาจากการประท้วงของคนงานบริษัทน้ำมันที่ยืดเยื้อ แม้ว่าท่าเรือส่งออกน้ำมันดิบบางแหล่งมีแนวโน้มจะกลับมาเปิดใช้ได้ตามเดิม
-  การกลับมาดำเนินการอีกครั้งของแหล่งน้ำมันดิบบริเวณทะเลเหนือ หลังผ่านพ้นช่วงปิดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ประจำปี
- ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหภาพยุโรปในวันที่ 5 ก.ย. นี้ ว่าจะมีความคืบหน้าของการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปเพิ่มเติมหรือไม่


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 05 ก.ย. 2556 เวลา : 10:45:25

24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 6:21 pm