น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.17 เหรียญฯ ปิดที่ 107.56 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.25 เหรียญฯ ปิดที่ 111.50 เหรียญฯ + ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากนักลงทุนยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ในซีเรียว่าการใช้หลักการฑูตของรัสเซียที่ให้ซีเรียส่งมอบอาวุธเคมีให้อยู่ภายใต้การควบคุมของนานาชาตินั้นจะสำเร็จหรือไม่ ถึงแม้ว่าประธานาธิบดีบารัก โอบามาจะตอบรับข้อเสนอทางการฑูตของรัสเซีย แต่โอบามายังคงเรียกร้องให้ชาวอเมริกันสนับสนุนการใช้กำลังการทหาร หากความพยายามทางการฑูตประสบความล้มเหลว + นักลงทุนยังคงกังวลต่อภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัวต่อเนื่องเพราะยังมีความไม่มั่นใจว่ารัฐบาลลิเบียจะสามารถตกลงกับผู้ชุมนุมประท้วงที่แหล่งผลิตน้ำมันดิบและท่าส่งน้ำมันดิบได้หรือไม่ ขณะที่กำลังการผลิตในทะเลเหนือแม้จะมีการคาดการณ์ปรับเพิ่มขึ้น 8.2 % หรือ 1.84 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ต.ค. แต่ก็ยังไม่สามารถคลายความกังวลของตลาดลงได้มากนัก - ตลาดยังคงเฝ้าจับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้าว่า ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะลดจำนวนเงินของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจลงหรือไม่ หลังตัวเลขการจ้างงานที่ประกาศในสัปดาห์ที่แล้วออกมาไม่ดีนัก ซึ่งหากมีการลดวงเงินช่วยเหลือลงในตอนนี้ก็อาจส่งผลกระทบให้ค่าเงินดอลล่าร์แข็งค่าขึ้น และอาจกระทบต่อราคาน้ำมันและสินค้าบริโภคได้ - สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ก.ย. 56 ปรับลดลง 0.2 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยปรับลดลงน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 1.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการการใช้น้ำมันยังคงอยู่ในระดับต่ำ - ตัวเลขยอดค้าส่งของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.1% น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.4% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีเดือน ส.ค. แม้จะยังทรงตัวที่ระดับเดียวกับเดือน ก.ค. แต่ก็ถือว่าปรับเพิ่มขึ้นตามคาด 1.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีการนำเข้าจากอินโดนีเซียลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากอุปสงค์ในประเทศน้อยลงและค่าเงินรูเปียห์อ่อนตัวลง ราคาน้ำมันดีเซล ปรับมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ของอินโดนีเซียและเวียดนามลดลง ขณะที่อุปทานจากอินเดียและตะวันออกลางปรับเพิ่มขึ้น ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบลดลงโดยเวสต์เท็กซัสที่กรอบ 105-111 เหรียญฯ ขณะที่เบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 109-115 เหรียญฯ เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนว่าสหรัฐฯ จะโจมตีซีเรียหรือไม่ โดยในวันนี้ติดตามตัวเลขภาคการผลิตอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป และรายงานงบดุลงบประมาณธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันพฤหัสฯ: การผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป และรายงานดุลงบประมาณธนาคารกลางสหรัฐฯ วันศุกร์: ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ก.ย. ของ IEA ในวันที่ 12 ก.ย. นี้ ว่าจะมีมุมมองต่อทิศทางอุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบอย่างไร ภายหลังซาอุดิอาระเบียวางแผนเพิ่มกำลังการผลิตในไตรมาสที่ 3 เพื่อชดเชยปริมาณน้ำมันดิบที่คาดว่าจะหายไปเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ปัจจัยที่น่าจับตามอง - ติดตามผลการตรวจสอบการใช้อาวุธเคมีในซีเรียโดยสหประชาชาติที่คาดว่าจะมีรายงานออกมาในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะถือเป็นหลักฐานสัญที่ชาติตะวันตกหลายประเทศจะนำไปใช้เพื่อการพิจารณาว่าจะเข้าโจมตีซีเรียเพื่อหยุดยั้งการใช้อาวุธเคมีหรือไม่ - จับตาว่าเหตุการณ์ในซีเรียจะเป็นไปในทิศทางใด หลังล่าสุดซีเรียยอมรับข้อเสนอของรัสเซียในการมอบอาวุธเคมีให้อยู่ภายใต้การควบคุบของนานาชาติ เป็นเหตุให้สหรัฐฯ ยอมเปิดการทางการฑูตกับซีเรีย อย่างไรก็ดี หากการเจรจาทางการฑูตไม่สำเร็จ สหรัฐฯก็จะนำวิธีการแทรกแซงทางทหารกลับมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง - การส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียที่ลดลงต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับ 80,000 บาร์เรลต่อวัน ยังคงทำให้ตลาดกังวลว่าอุปทานน้ำมันดิบจะตึงตัวต่อเนื่อง แม้ว่าท่าเรือหลายแห่งจะกลับมาเปิดดำเนินการแล้วก็ตาม - การปิดซ่อมบำรุงท่าเรือส่งออกของอิรักในเดือน ก.ย. ทำให้การส่งออกลดลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุปทานน้ำมันดิบในภูมิภาคตึงตัวขึ้น - กำลังการผลิตน้ำมันดิบจากบริเวณทะเลเหนือจะกลับมาอยู่ที่ระดับเดิมเมื่อไร หลังล่าสุดการส่งมอบน้ำมันบางส่วนของเดือน ก.ย. ได้ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือน ต.ค.
ข่าวเด่น