ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นมากกว่า 2 เหรียญฯ จากการที่ไม่ปรับเปลี่ยนมาตรการ QE


น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 2.65 เหรียญฯ ปิดที่ 108.07 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ พ.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 2.41 เหรียญฯ ปิดที่ 110.60 เหรียญฯ
 
+ ธนาคารกลางสหรัฐฯออกมากล่าวว่ายังคงไม่มีปรับเปลี่ยนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE) โดยยังคงเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ในวงเงินปัจจุบันที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือนต่อไป ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯยังคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ 0 - 0.25% จนกว่าอัตราว่างงานจะต่ำกว่า 6.5% และคาดการณ์ภายใน 1-2 ปีนี้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เคลื่อนไหวสูงกว่า 2.5% ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย
 
+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ยังได้รับแรงหนุนจากความไม่สงบในลิเบีย ซึ่งปัจจุบันลิเบียผลิตน้ำมันดิบได้อยู่ประมาณ 40% เทียบกับของการผลิตทั้งหมด อยู่ที่ 620,000 บาร์เรล จากระดับปรกติที่มีการผลิตที่1.6 ล้านบาร์เรล
 
+/-รายงานตัวเลขยอดขอสร้างบ้านใหม่ของสหรัฐฯ จากกระทรวงพาณิชย์ ประจำเดือนส.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.9% จากเดือนก.ค. มาอยู่ที่ 0.891 ล้านยูนิต ซึ่งปรับน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.915 ล้านยูนิต
 
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ก.ย. 56  ปรับลดลง 4.37 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ที่ 355.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดต้องแต่ มี.ค. 2555 ซึ่งปรับลดมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 1.4 ล้านบาร์เรล ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่บริเวณคุชชิ่ง โอคลาโฮมา ปรับลดลง 11 สัปดาห์ติดต่อกัน มาอยู่ที่ 33.33 ล้านบาร์เรล  จากการที่มีท่อขนส่งน้ำมันจากบริเวณดังกล่าวไปยังโรงกลั่นบริเวณเท็กซัส และ โรงกลั่นใหญ่ใน Midwest
 
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศอินโดนีเซียปรับลดลง
 
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้ในภูมิภาคปรับลดลง โดยเฉพาะจากเวียดนามซึ่งปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังของเวียดนามอยู่ในระดับสูง ประกอบกับตลาดคาดว่าทางฝั่งเอเชียจะมีปริมาณส่วนเกินในไตมาสที่สี่ ซึ่งคาดว่าจีนจะส่งออกมากกว่า 1ล้านตัน
 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
ไทยออยล์คาดว่าราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เวสต์เท็กซัสจะเคลื่อนไหวอยู่ที่กรอบ 104-110 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ที่กรอบ 106-112 เหรียญฯ
ติดตามยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟีย ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันพฤหัส: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟีย ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ
วันศุกร์: ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป สหรัฐฯ
 
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
- ติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 17 - 18  ก.ย. นี้ ว่าทางธนาคารฯ จะประกาศลดวงเงินช่วยเหลือของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE) หรือไม่ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าหากมีการลด QE ในตอนนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้
 
-จับตาว่าการเจรจาทางการฑูตของสหรัฐฯ และซีเรียจะปฏิบัติตามต่อข้อเสนอของรัสเซียที่จะยอมมอบอาวุธเคมีให้องค์กรนานาชาติควบคุมดูแลหรือไม่ อย่างไรก็ดี หากการเจรจาทางการฑูตไม่สำเร็จ สหรัฐฯ ก็จะนำวิธีการแทรกแซงทางทหารกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง
 
- จับตาการส่งออกน้ำมันของลิเบียว่าจะกลับมาอยู่ในระดับเดิมได้หรือไม่ หลังล่าสุดทางการลิเบียพยายามเข้าหารือกับตัวแทนของกลุ่มผุ้ประท้วงแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ออกมา
 
- ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี ของอิหร่านจะเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) ในวันที่ 17 ก.ย. นี้ และคาดว่าจะนำเรื่องโครงการพัฒนานิวเคลียร์กลับมาหารือกับชาติตะวันตกอีกครั้ง
 
- การปิดซ่อมบำรุงท่าเรือส่งออกของอิรักในเดือน ก.ย. ที่ทำให้การส่งออกลดลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุปทานน้ำมันดิบในภูมิภาคตึงตัวขึ้น อย่างไรก็ดี การผลิตน้ำมันดิบจากบริเวณทะเลเหนือคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.84 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ต.ค. จาก 1.7 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ย.


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 19 ก.ย. 2556 เวลา : 15:14:38

23-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 23, 2024, 8:29 pm