|
|
|
|
|
|
นายปัณณพงศ์ อิทธิ์อรรถนนท์ กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวหลังประชุมคณะกรรมการค่าจ้างที่กระทรวงแรงงานว่า ที่ประชุมได้หารือถึงกรณีลูกจ้างบางกลุ่มเสนอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นมาก ที่ประชุมเห็นว่าการปรับค่าจ้างให้สูงขึ้นอาจไม่เป็นประโยชน์ หากไม่สามารถคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการครองชีพได้ ซึ่งสถานประกอบการส่วนใหญ่ต่างคงอยู่ได้ แต่หากมีการปรับขึ้นค่าจ้างอีกก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ จึงอยากให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ 300 บาทไปอีกประมาณ 2 ปี ซึ่งเป็นไปตามมติบอร์ดค่าจ้างก่อนหน้านี้ ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทไปจนถึงปี พ.ศ.2558 หากไม่มีปัจจัยความผันผวนด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยและทั่วโลก หลังจากนั้นใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทเป็นฐาน โดยใช้การปรับค่าจ้างเป็นอัตราลอยตัว ที่เป็นราคาค่าจ้างที่ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างนายจ้าง ซึ่งค่าจ้างไม่จำเป็นต้องเป็นอัตราเดียวทั่วประเทศ หรือส่งเสริมให้มีเรื่องโครงสร้างค่าจ้างในสถานประกอบการที่กำหนดให้สถานประกอบการที่ลูกจ้าง 10 คนขึ้นไปให้มีการจัดทำโครงสร้างค่าจ้าง
นายปัณณพงศ์ ยังได้กล่าวว่า ขอฝากไปถึงพรรคการเมือง อย่านำเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำมาใช้เป็นประเด็นหาเสียงในการเลือกตั้ง เนื่องจากอัตราค่าจ้างที่ควรจะเป็นเรื่องที่ต้องมีเหตุผล เชิงวิชาการเข้ามาสนับสนุน ให้เกิดความสมดุลไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายที่จะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถอยู่ได้ |
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
28 ต.ค. 2556 เวลา : 18:03:24
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น