เวสต์เท็กซัสส่งมอบ ธ.ค. ปรับลดลง 0.01 เหรียญฯ ปิดที่ 93.33 เหรียญฯ และเบรนท์ส่งมอบ ม.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 1.14 เหรียญฯ ปิดที่ 108.06 เหรียญฯ + ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น หลังการการประชุมระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ เรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน ณ กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีท่าทีว่าจะไม่ยุติ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯส่งสัญญาณอาจลดมาตรการ QE ในเร็วๆนี้ หลังเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการน้ำมันและการลงทุนในตลาดน้ำมัน + สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 15 พ.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.4 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่คาดไว้ที่ 0.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 388.5 ล้านบาร์เรล ขณะที่ปริมาณน้ำมันเดีเซลคงคลังปรับลดลงมากถึง 4.8 ล้านบาร์เรล - ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ปรับลดลง 0.1% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะยังทรงตัว ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ยทั้งปีปรับเพิ่มขึ้น 1% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯสามารถดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรรายเดือนต่อไปได้ - ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ปรับลดลง 3.2% เป็น 5.12 ล้าน จากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายบ้านเดี่ยวลดลง 4.1% จากเดือนก่อนหน้า + ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะขปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% โดยได้รับแรงหนุนจากการซื้อสินค้าในครัวเรือน - การส่งออกน้ำมันดิบที่ท่าเรือ Mellitah ของลิเบียได้กลับมาปฏิบัติงานได้อีกครั้งหลังการประท้วงสิ้นสุดลง ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำ มันดิบกลับมามากกว่า 80,000 บาร์เรลต่อวันจากกำลังการผลิตที่ 130,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่การส่งออกน้ำมันดิบที่ท่าเรือ Zawiya ซึ่งมีกำลังการผลิต 120,000 บาร์เรลต่อวันยังคงหยุดชะงัก ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากหน่วยผลิตน้ำมันเบนซินของโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของยุโรปหยุดดำเนินการผลิตกระทันหัน หลังเกิดการระเบิด ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุทานตึงตัวในเอเชีย แม้ว่าอุปทานจากตะวันออกกลางและอินเดียเพิ่มขึ้น ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวอยู่ที่กรอบ 93-100 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104 -110 เหรียญฯ ติดตามดัชนีภาคการผลิต ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและเยอรมนี อีกทั้งผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟียสหรัฐฯ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป และดัชนีภาคการผลิตจีนในคืนนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ วันพฤหัสบดี: ดัชนีภาคการผลิต ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและเยอรมนี อีกทั้งผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟียสหรัฐฯ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป และดัชนีภาคการผลิตจีน วันศุกร์: จีดีพีไตรมาส 3/2556 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนี ปัจจัยที่น่าจับตามอง - ภาวะอุปทานตึงตัวในลิเบีย โดยกลุ่มผู้ประท้วงในลิเบียฝั่งตะวันตกเตรียมก่อตั้งบริษัทผลิตน้ำมันเพื่อทำการส่งออกน้ำมันเอง ล่าสุดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียอยู่ที่ 120,000 บาร์เรลต่อวัน -ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 30 ล้านบาร์เรลในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีในสัปดาห์ล่าสุดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง อันเป็นผลมาจากโรงกลั่นกลับมาจากปิดซ่อมบำรุง
ข่าวเด่น