บมจ.ไทยออยล์ วิเคราะห์ น้ำมันดิบได้แรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป
เวสต์เท็กซัสส่งมอบ ม.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.33 เหรียญฯ ปิดที่ 99.55 เหรียญฯ ขณะที่เบรนท์ส่งมอบเดือน ก.พ. ปรับเพิ่มขึ้น 0.08 เหรียญฯ มาอยู่ที่ 111.98 เหรียญฯ
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากสต๊อกน้ำมันสำเร็จรูปที่สหรัฐฯ ประกาศโดย APIปรับตัวลดลง โดยเบนซินลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล ส่วนดีเซลลดลง 0.7 ล้านบาร์เรล ชี้ให้เห็นว่าความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับเหตุการณ์การประท้วงในฝรั่งเศสที่โรงกลั่นน้ำมันของ TOTAL ที่มีกำลังการผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลประมาณ 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ปริมาณอุปทานของน้ำมันสำเร็จรูปทั้งเบนซินและดีเซลหายไป
+ เหตุการณ์ไม่สงบในซูดานใต้ยังคงไม่ได้ข้อสรุป ส่งผลต่ออุปทานในประเทศ โดยกลุ่มกบฎได้มีการประท้วงที่แหล่งขุดเจาะน้ำมันในรัฐยูนิตี้ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบในประเทศลดลง 45,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับการผลิต 200,000 บาร์เรลต่อวัน
+ เหตุการณ์ในลิเบียยังคงไม่สงบหลังจากการเจรจาเพื่อหาทางออกให้ประเทศไม่เป็นผลสำเร็จทำให้กำลังการผลิตลิเบียล่าสุด อยู่ที่ระดับ 250,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.ค. ส่วนปริมาณการส่งออกลดลงสู่ระดับ 110,000 บาร์เรลต่อวัน
+ ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานของสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์ก่อนหน้าปรับลดลง 42,000 คน มาอยู่ที่ 338,000 คน ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลงมาเท่ากับ 345,000 คน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงตลาดแรงงานสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องสังเกตได้จากอัตราการว่างงานในเดือนก่อนหน้าปรับลดลงมาเหลือ 7.0%
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบหลังจากตลาดกังวลในเรื่องของอุปทานหลังจากโรงกลั่นขนาดใหญ่ในไต้หวันหยุดการผลิตชั่วคราว
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดีเซลถูกกดดันหลังจากอุปสงค์เริ่มชะลอตัวลง ประกอบกับอุปทานที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังญี่ปุ่นที่ส่งออกมากขึ้น
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่กรอบ 94 - 102 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 108 -114 เหรียญฯ วันนี้ติดตามการประกาศตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ โดย EIA
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า ได้แก่
วันจันทร์: ยอดการทำสัญญาซื้อบ้านรอปิดการขายสหรัฐฯ
วันอังคาร: ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
วันพุธ: วันหยุดปีใหม่
วันพฤหัส: ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน รวมทั้งยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ
วันศุกร์: ดัชนีภาคการบริการจีน
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
- ติดตามสถานการณ์ความรุนแรงในซูดานใต้ ซึ่งล่าสุดส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลดลงจาก 245,000 บาร์เรลต่อวัน เหลือ 200,000 บาร์เรลต่อวัน
- การเปิดใช้ท่อขนส่งน้ำมันดิบ Keystone อย่างเป็นทางการในเดือน ม.ค. 57 ที่จะขนส่งน้ำมันดิบจากคุชชิ่งไปยังโรงกลั่นบริเวณรัฐเท็กซัสได้ราว 700,000 บาร์เรลต่อวัน
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการเปิดใช้ท่อส่งน้ำมันดิบ Keystone รวมทั้งการที่โรงกลั่นในสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นในฤดูหนาว
ข่าวเด่น