ไทยออยล์ชี้อุปทานทะเลเหนือและลิเบีย กดดันเบรนท์ร่วง
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลง โดยได้รับแรงกดดันการจากกลับมาดำเนินการตามปกติของแหล่งน้ำมันดิบ Buzzard บริเวณทะเลเหนือที่ 0.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายหลังการหยุดซ่อมบำรุงกะทันหันในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ในปีนี้หลุมน้ำมันดิบดังกล่าวจะปิดซ่อมบำรุงประจำปีเป็นเวลานานกว่า 9 สัปดาห์ในช่วงกลางปี ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2 สัปดาห์เท่านั้น
- กำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียกลับมาอยู่ที่ประมาณ 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน และสามารถส่งออกได้ที่ประมาณ 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวันตามคาด เนื่องจากหลุมน้ำมันหลักของประเทศ El Sharara สามารถกลับมาดำเนินการได้เต็มกำลังการผลิต ภายหลังความสำเร็จในการเจรจากับผู้ประท้วงและปัญหาสภาพอากาศที่คลี่คลายลง
- ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่า ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 3 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมันทำความร้อนในสหรัฐฯ ยังคาดว่าจะปรับตัวลดลงด้วย หลังอุณหภูมิในสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะสูงขึ้นในสัปดาห์หน้า แม้ว่าในสัปดาห์นี้จะมีพายุลูกใหม่ เข้ากระทบสหรัฐฯทางตอนใต้ ส่งผลให้อุณหภูมิทางตอนใต้ปรับลดลงก็ตาม
- ตลาดจับตามองถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)คนใหม่ นางเจเน็ต เยลเลน ว่าจะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจ และนโยบายทางการเงินอย่างไร ภายหลังธนารคารกลางสหรัฐฯตัดสินใจปรับลดมาตรการอัดฉีดทางการเงินไปแล้วกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่ากับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินจากผู้ซื้อหลักอย่างอินโดนีเซียปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค. ถึงแม้ว่าหน่วยผลิตน้ำมันเบนซินในเกาหลีได้กลับมาดำเนินการตามปกติหลังจากการปิดซ่อมบำรุงกะทันหันจากเหตุไฟไหม้
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันดีเซลจะปรับเพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค. เนื่องจากการซื้อสำรองก่อนเข้าช่วงปิดซ่อมบำรุงประจำปีของโรงกลั่นในภูมิภาค
ทิศทางราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 94 - 102 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104-110 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามองสัปดาห์นี้
- จับตาการแถลงนโยบายของนางเจเน็ท เยลเลน ครั้งแรกในฐานะประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าจะมีแผนการเกี่ยวกับมาตรการ QE อย่างไรต่อไป
- อุณหภูมิที่ปรับลดลงมากกว่าคาดทั่วสหรัฐฯ เป็นผลให้ความต้องการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเพื่อการทำความร้อนพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันกลุ่มดีเซลคงคลังในสหรัฐฯ ปรับลดลงมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ก.พ. ของ EIA (11 ก.พ.), OPEC (12 ก.พ.) และ IEA (13 ก.พ.) ที่จะมีมุมมองความต้องการใช้น้ำมันและอุปทานน้ำมันโลก
- ความคืบหน้าการกลับมาส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียจากท่าเรือฝั่งตะวันออกของประเทศ ภายหลังรัฐบาลพยายามเจรจาเรื่องการแบ่งสรรผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มผู้ประท้วง
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า
วันจันทร์ -
วันอังคาร สินค้าส่งคงคลังสหรัฐฯ - ธ.ค. 56
วันพุธ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยุโรป - ธ.ค. 56
ดุลการค้าจีน - ม.ค. 57
วันพฤหัสฯ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ - ม.ค. 57
วันศุกร์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - ธ.ค. 56
จีดีพียุโรป - ไตรมาส 4/2556
ดัชนีราคาผู้ผลิต - ม.ค 57
ดัชนีราคาผู้บริโภค - ม.ค 57
ข่าวเด่น