บมจ.ไทยออยล์รายงาน ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับเพิ่ม หลังปริมาณน้ำมันดิบที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมาปรับตัวลดลง
+ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือนหลังจาก สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA)รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ก.พ. 57 พบว่า น้ำมันดิบคงคลังที่จุดส่งมอบน้ำมันดิบคุชชิ่ง โอคลาโฮมา(จุดส่งมองน้ำมันดิบ WTI) ลดลงกว่า 2.6 ล้านบาร์เรล หลังจากการเปิดดำเนินการท่อขนส่งน้ำมันดิบ Keystone XL ช่วยในการขนส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นแถวอ่าวเม็กซิโก
+ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากประเทศจีนรายงานการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 6.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากปีก่อนหน้า เนื่องจากเป็นการสต๊อกน้ำมันดิบล่วงหน้าก่อนตรุษจีนและจากความต้องการที่สูงมากขึ้นจากโรงกลั่นใหม่ที่เริ่มดำเนินการในเดือน ม.ค. กำลังการผลิตรวมกว่า 580,000 บาร์เรลต่อวัน
+ ในขณะเดียวกันเหตุการณ์ความไม่สงบในลิเบียที่ประทุขึ้น หลังจากที่กลุ่มผู้ประท้วงทำการปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิต Wafa ซึ่งมีกำลังการผลิต 30,000 บาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้อาจจะต้องหยุดทำการผลิต นอกจากนั้นกลุ่มผู้ประท้วงยังขู่ที่จะทำการปิดท่อขนส่งน้ำมันดิบจากแหล่ง El Sharara
+/- นอกจากนี้จากรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ก.พ. 57 ของ OPEC คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันดิบในปีนี้จะขยายตัวที่ระดับ 1.09 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 4 หมื่นบาร์เรลต่อวันจากรายงานในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม OPEC คาดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของ Non-OPEC จะเท่ากับ 54.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 5 หมื่นบาร์เรลต่อวันจากรายงานครั้งก่อน เนื่องจากปริมาณการผลิตของสหรัฐฯเพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่ากับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากยังคงมีความต้องการน้ำมันเบนซินจากเวียดนามและอินโดนีเซีย ประกอบกับอุปทานจะเริ่มตึงตัวมากขึ้นหลังจากที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังจากปริมาณอุปทานที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นจากประเทศไต้หวัน ประกอบกับการเลื่อนซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในอินเดียจากเดิมในช่วงมีนาคมไปเป็นในช่วงพฤษภาคมแทน
ทิศทางราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 94 - 102 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104-110 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามองสัปดาห์นี้
- อุณหภูมิที่ปรับลดลงมากกว่าคาดทั่วสหรัฐฯ เป็นผลให้ความต้องการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเพื่อการทำความร้อนพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันกลุ่มดีเซลคงคลังในสหรัฐฯ ปรับลดลงมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ก.พ. ของ EA (13 ก.พ.) ที่จะมีมุมมองความต้องการใช้น้ำมันและอุปทานน้ำมันโลก ความคืบหน้าการกลับมาส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียจากท่าเรือฝั่งตะวันออกของประเทศ ภายหลังรัฐบาลพยายามเจรจาเรื่องการแบ่งสรรผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มผู้ประท้วง
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า
วันจันทร์ -
วันอังคาร สินค้าส่งคงคลังสหรัฐฯ - ธ.ค. 56
วันพุธ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยุโรป - ธ.ค. 56
ดุลการค้าจีน - ม.ค. 57
วันพฤหัสฯ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ - ม.ค. 57
วันศุกร์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - ธ.ค. 56
จีดีพียุโรป - ไตรมาส 4/2556
ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน - ม.ค 57
ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน - ม.ค 57
ข่าวเด่น