ไทยอออยล์ระบุ อุปทานน้ำมันดิบจากลิเบียและแองโกล่าที่ลดลงหนุนราคาน้ำมันดิบ Brent
+ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับเพิ่มขึ้นได้รับแรงหนุนจากปัญหาอุปทานที่ลดลงในลิเบียและแองโกล่า โดยปริมาณผลิตน้ำมันดิบจากลิเบียที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ 460,000 บาร์เรลต่อวัน ช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว ลดลงจากประมาณ 570,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงต้นสัปดาห์ ภายหลังกลุ่มผู้ประท้วงปิดท่อส่งน้ำมันดิบจากหลุม El Wafa และ El Sharara
+ ตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดของบริษัทฯน้ำมัน BP แสดงให้เห็นว่าปริมาณส่งออกน้ำมันดิบของบริษัทฯจากประเทศแองโกล่าจะปรับลดลงในเดือนมี.ค. และเม.ย. เนื่องจากเกิดปัญหาทางเทคนิคที่แท่นขุดเจาะในทะเล
+ นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบ Brent ยังได้รับแรงหนุนจากตัวเลข GDP ไตรมาส 4 ปี 2556 ของกลุ่มประเทศ EU ที่ขยายตัว 0.3% มากกว่าคาดการณ์ที่ 0.2% โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากภาคส่งออกและการลงทุน โดยเฉพาะในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส นอกจากนี้เศรษฐกิจอิตาลีก็เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว ส่งผลให้ตลาดมีมุมมองที่ดีต่อภาพเศรษฐกิจกลุ่ม EU ในปี 2557 รวมทั้งความต้องการใช้น้ำมัน
-/+ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลงเล็กน้อยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือน ม.ค. 57 ที่ปรับลดลง 0.8% ซึ่งเป็นการปรับลดลงครั้งแรงนับแต่เดือนก.ค. ปี 56 และเป็นการปรับลดลงมากสุดนับแต่เดือนพ.ค. 2552 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพอากาศที่หนาวเย็นส่งผลให้โรงงานหลายแห่งในหลายพื้นที่ต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว อย่างไรก็ดี ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนก.พ. 57 ที่จัดทำโดย Thomson Reuters/University of Michigan อยู่ที่ 81.2 จุด ทรงตัวจากเดือนที่แล้ว
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากับราคาน้ำมันดิบดูไบ ภาพตลาดน้ำมันเบนซินภายในภูมิภาคโดยรวมค่อนข้างทรงตัว โดยทางความต้องการหลักยังมาจากเวียดนามและอินโดนีเซีย ขณะที่อุปทานยังมีเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากไต้หวัน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ถูกกดดันจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังในสิงคโปร์ที่พุ่งสูงขึ้น โดยล่าสุด ณ วันที่ 12 ก.พ. ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงคโปร์ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 0.4 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 12.04 ล้านบาร์เรล ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดเดิมตั้งแต่ ต.ค. ปี 2554 ที่ 12.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุปทานที่เข้ามามากโดยเฉพาะจากไต้หวัน
ทิศทางราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 94 - 102 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104-110 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามองสัปดาห์นี้
- การเจรจาระหว่างอิหร่านและ 6 ชาติมหาอำนาจซึ่งมีขึ้นในวันที่ 18 - 19 ก.พ. นี้ หลายฝ่ายคาดว่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้นที่นานาชาติจะลดมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม และส่งผลให้อิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมันขดิบได้เพิ่มขึ้น
- ราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้โรงไฟฟ้าหลายแห่งเริ่มเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวของสหรัฐฯ ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิของประเทศมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น
- จับตาปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ล่าสุดมีการปรับลดลงต่อเนื่องหลังท่อขนส่งน้ำมัน Keystone เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือน ม.ค. อย่างไรก็ดี ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นของสหรัฐฯ กำลังจะเริ่มขึ้นคาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบลดลง
- ความคืบหน้าการกลับมาส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียจากท่าเรือฝั่งตะวันออกของประเทศ ภายหลังรัฐบาลพยายามเจรจาเรื่องการแบ่งสรรผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มผู้ประท้วง
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า
วันจันทร์ -
วันอังคาร ดุลบัญชีเดินสะพัดยุโรป - ธ.ค. 56
วันพุธ ยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ - ม.ค. 57
วันพฤหัสฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - ม.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Makrit flash) - ม.ค. 57
ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟียสหรัฐฯ - ก.พ. 57
ดัชนีภาคการบริการยุโรป (Makrit flash) - ก.พ. 57
ดัชนีภาคการผลิตยุโรป (Makrit flash) - ก.พ. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC flash) - ก.พ. 57
วันศุกร์ ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ - ม.ค. 57
ข่าวเด่น