บมจ.ไทยออยล์ชี้อุปทานน้ำมันดิบจากลิเบีย-แองโกล่าลดลง หนุนราคาน้ำมันดิบเบรนท์
+ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 2 เหรียญจากปริมาณอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นในตอนเหนือของสหรัฐฯ
+ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบีย หลังจากที่ผู้ประท้วงขัดขวางการส่งน้ำมันจากหลุมน้ำมัน El Sharara ส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันลดลงมาอยู่ที่ 375,000 บาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่460,000 บาร์เรลต่อวัน
+ นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีความกังวลหลังกลุ่มกบฎในซูดานใต้ได้ประกาศเข้าควบคุมเมืองหลวง Malakal ที่ตั้งห่างจากเมือง Paloch ไปประมาณ 140 กิโลเมตรซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งผลิตน้ำมันดิบ ซึ่งขณะนี้ กำลังการผลิตน้ำมันดิบของซูดานใต้ได้ปรับลดลงมาอยูที่ 200,000 บาร์เรลต่อวันจากกำลังการผลิตปกติที่ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+ ในขณะเดียวกันนักลงทุนมีความกังวลต่อเหตุการณ์ในประเทศเวเนซุเอล่า จากกลุ่มผู้ประท้วงนับหมื่นคนออกมาชุมนุมในเมือง Caracas หลังจากมีการจับกุมผู้นำ Leopoldo Lopez ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับประธานาธิบดี Nicolas Maduro ส่งผลให้มีผุ้เสียชีวิตจำนวนสี่ราย
-/+ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ วันที่ 14 ก.พ. จะปรับเพิ่ม 1.8 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลัง คาดว่าจะปรับลดลง 1.8 ล้านบาร์เรลและปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังจะปรับลดลง 0.9 ล้านบาร์เรล จากอุปสงค์ที่เข้ามามากเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในอเมริกาเหนือ โดยติดตามประกาศปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจากสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ(API) จะประกาศในเย็นวันนี้
- อย่างไรก็ดี ตัวเลขความเชื่อมันนักลงทุนเยอรมัน (ZEW) ปรับลงลงมาอยู่ที่ 55.7 ในเดือนนี้ ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 61.2 ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างเยอรมันยังมีไม่ฟื้นตัวเต็มที่
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่ประเทศสิงคโปร์มีปริมาณสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1999 ในขณะที่อุปสงค์ในภูมิภาคเดือนมีนาคมคาดว่าจะคงที่
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปสงค์เพิ่มจากจากประเทศศรีลังกาและเวียดนาม
ทิศทางราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 94 - 102 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104-110 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามองสัปดาห์นี้
- การเจรจาระหว่างอิหร่านและ 6 ชาติมหาอำนาจซึ่งมีขึ้นในวันที่ 18 - 19 ก.พ. นี้ หลายฝ่ายคาดว่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้นที่นานาชาติจะลดมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม และส่งผลให้อิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมันขดิบได้เพิ่มขึ้น
- ราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้โรงไฟฟ้าหลายแห่งเริ่มเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวของสหรัฐฯ ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิของประเทศมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น
- จับตาปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ล่าสุดมีการปรับลดลงต่อเนื่องหลังท่อขนส่งน้ำมัน Keystone เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือน ม.ค. อย่างไรก็ดี ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นของสหรัฐฯ กำลังจะเริ่มขึ้นคาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบลดลง
- ความคืบหน้าการกลับมาส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียจากท่าเรือฝั่งตะวันออกของประเทศ ภายหลังรัฐบาลพยายามเจรจาเรื่องการแบ่งสรรผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มผู้ประท้วง
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า
วันจันทร์ -
วันอังคาร ดุลบัญชีเดินสะพัดยุโรป - ธ.ค. 56
วันพุธ ยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ - ม.ค. 57
วันพฤหัสฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - ม.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Makrit flash) - ม.ค. 57
ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟียสหรัฐฯ - ก.พ. 57
ดัชนีภาคการบริการยุโรป (Makrit flash) - ก.พ. 57
ดัชนีภาคการผลิตยุโรป (Makrit flash) - ก.พ. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC flash) - ก.พ. 57
วันศุกร์ ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ - ม.ค. 57
ข่าวเด่น