ราคาน้ำมันดิบเพิ่ม หลังปริมาณน้ำมันดิบที่คุชชิ่ง โอคลาโฮมาผลิตลดลง
+ ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่จุดส่งมอบน้ำมันดิบคุชชิ่ง โอคลาโฮมา สิ้นสุด ณ วันที่ 21 ก.พ. 57 (จุดส่งมองน้ำมันดิบ WTI) ลดลงกว่า 1.1 ล้านบาร์เรล หลังจากการเปิดดำเนินการท่อขนส่งน้ำมันดิบ Keystone XL ช่วยในการขนส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นแถวอ่าวเม็กซิโก ขณะที่ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 338,000 บาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล ส่วนปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เกือบ 3 เท่า
+ ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ ในเดือน ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.6% มาอยู่ที่ 468,000 ยูนิต ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2551 และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะปรับลดลงมาอยู่ที่ 400,000 ยูนิต จากระดับ 427,000 ยูนิตในเดือนธ.ค.
+ เหตุการณ์ความไม่สงบในลิเบียยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันดิบเบรนท์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเหตุประทะกันในประเทศ ส่งผลให้โรงไฟฟ้าแห่งนึงในบริเวณลิเบียตอนใต้ต้องหยุดชะงัก ซึ่งเสี่ยงในเรื่องไฟฟ้าไม่พอใช้ในช่วงหน้าร้อน อย่างไรก็ดีการสู้รบดังกล่าว ยังไม่ได้ผลกระทบต่อปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มเติมจากก่อนหน้านี่ โดยปัจจุบันการผลิตของประเทศยังคงอยู่ที่ระดับ 0.23 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลงจากระดับ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีก่อนหน้า
-/+ ตลาดยังคงจับตาความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก หลังหนี้ภาคเอกชนของจีนพุ่งแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ โดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เอสแอนด์พี คาดว่า บริษัทนอกภาคสถาบันการเงินของจีนมีหนี้จากการกู้ยืมธนาคารและการออกพันธบัตร สุดสุด ณ สิ้นปีที่ผ่านมา ทั้งหมดประมาณ 12 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นสัดส่วนมากกว่า 120% ของจีดีพี
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดีคาดว่าการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในภูมิภาคในช่วงไตรมาสที่ 2 จะช่วยบรรเทาภาวะอุปทานล้นตลาดลง นอกจากนี้ยังคาดว่าอินโดนีเซียจะมีความต้องการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นในช่วงเดือน มีนาคมถึงเมษายน เพื่อเก็บสต๊อกก่อนเข้าสู่การเลือกตั้ง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงสวนมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานล้นตลาด หลังจากที่ไม่สามารถขนย้ายน้ำมันดีเซลจากภูมิภาคไปยังยุโรปได้
ทิศทางราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 96 - 104 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 106-112 หรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามองสัปดาห์นี้
ปัญหาการส่งออกน้ำมันดิบของลิเบีย เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถหาข้อตกลงกับกลุ่มผู้ประท้วงได้ โดยล่าสุดกำลังการผลิตของลิเบียปรับลดลงมาอยู่ที่ 0.23 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากหลุมน้ำมันหลัก El Sharara ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้เต็มที่
เหตุการณ์ประท้วงในเวเนซูเอล่า โดยมีกลุ่มผู้ประท้วงนับหมื่นคนออกมาประท้วงแสดงความไม่พอใจต่อประธานาธิบดี รวมไปถึงเหตุการณ์กบฎในซูดานใต้ ซึ่งได้ประกาศจะเข้ายึดเมืองหลวงของประเทศ โดยล่าสุดซูดานใต้มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบอยู่ที่ 0.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสหรัฐฯ หลังจากพายุหิมะหลายลูกได้พัดเข้าถล่มหลายเขต เป็นผลให้ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับลดลงต่อเนื่องในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมไปถึงมีการนำเข้าน้ำมันดีเซลจากยุโรปเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการเพื่อการทำความร้อนอีกด้วย
ติดตามจีดีพีไตรมาส 4/2556 สหรัฐฯ (Prelim) ที่จะประกาศในวันที่ 28 ก.พ.นี้ ว่าประเทศมหาอำนาจที่มีความต้องการใช้น้ำมันดิบกว่า 25% ของโลก จะมีทิศทางเศรษฐกิจอย่างไร โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์จีดีพีไตรมาส 4/2556 ไว้ที่ 2.7%
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ (Markrit) - ก.พ. 57
วันอังคาร ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ - ธ.ค. 56
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - ก.พ. 57
วันพุธ ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ - ม.ค. 57
วันพฤหัสฯ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ - ม.ค. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยุโรป - ก.พ. 57
วันศุกร์ จีดีพีสหรัฐฯ (Prelim) - ไตรมาส 4/56
อัตราการว่างงานยุโรป - ม.ค. 57
ข่าวเด่น