น้ำมันเบรนท์ร่วงจากเหตุการณ์ความรุนแรงในยูเครนส่งผลถึงความกังวลในการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรป
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง หลังนักลงทุนมีความกังวลต่อท่าทีของรัสเซียในความร่วมมือกับชาติตะวันตกในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความไม่สงบในยูเครน โดยรัสเซียได้ตำหนิการขับไล่ประธานาธิบดี Viktor Yanukovich ทั้งนี้นักลงทุนคาดการณ์ว่าจากสถานการณ์ความไม่สงบอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตได้ช้าลง ซึ่งส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมัน
- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสปรับลดลงเล็กน้อยหลังEIA รายงานตัวเลขการผลิตน้ำมันสหรัฐฯในปี 2013 เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 7.46 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งนับว่าสูงสุดในรอบ 25 ปี โดยตัวเลขการส่งออกน้ำมันปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบปรับลดลงมาอยู่ที่ 5.1 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 27 ปี
+ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯเดือน ม.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 1.1 % นับว่าเป็นการปรับขึ้นที่สูงสุดในรอบแปดเดือน ส่งสัญญานถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นของภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายของผู้บริโภค หลังจากที่ถูกกดดันจากสภาวะอากาศหนาวเย็นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
-/+ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยุโรปปรับลดลง 1.0 จุดเนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเรื่องเงินออม อัตราการว่างงาน และสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของภูมิภาคที่คาดว่าจะปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยุโรป (ESI) ปรับเพิ่มขึ้น 0.2 มาอยู่ที่ 101.2 ในเขตยูโรโซนและ 105 ในสหภาพยุโรปจากความเชื่อมั่นในด้านการก่อสร้าง ภาคการบริการและการค้าปลีก
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในภูมิภาคอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคล้นตลาด ในขณะที่อุปสงค์อ่อนตัวลงจากปริมาณความต้องการที่ลดลงของประเทศซาอุดิอารเบียในช่วงเดือนมี.ค.และเม.ย.
ทิศทางราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 96 - 104 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 106-112 หรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามองสัปดาห์นี้
-การประชุมธนาคารกลางสหภาพยุโรปในวันที่ 6 มี.ค. นี้ ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่านายมาริโอ้ ดรากี้ ประธานธนาคารฯ จะมีการหารือเรื่องนโยบายดอกเบี้ยว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปหรือไม่ หลังเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
-ปัญหาการส่งออกน้ำมันดิบของลิเบีย เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถหาข้อตกลงกับกลุ่มผู้ประท้วงได้ โดยล่าสุดกำลังการผลิตของลิเบียปรับลดลงมาอยู่ที่ 0.23 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากหลุมน้ำมันหลัก El Sharara ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้เต็มที่
-จับตาปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังความต้องการใช้มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากโรงกลั่นหลายแห่งในสหรัฐฯ เตรียมเข้าสู่ช่วงของการปิดซ่อมบำรุงประจำปี
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันเสาร์ ดัชนีภาคการผลิตจีน (Official PMI) - ก.พ. 57
วันจันทร์ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM) - ก.พ. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC PMI) - ก.พ. 57
ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) - ก.พ. 57
วันพุธ การจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ -ก.พ. 57
ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ (ISM) - ก.พ. 57
ดัชนีภาคบริการยูโรโซน (Markit service PMI) - ก.พ. 57
ดัชนีภาคบริการจีน (HSBC service PMI) - ก.พ. 57
จีดีพียูโรโซน - ไตรมาส 4/56
วันพฤหัสฯ ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานสหรัฐฯ - ก.พ. 57
ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์การว่างงาน
วันศุกร์ อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - ก.พ. 57
การจ้างงานนอกภาคเกษตร - ก.พ. 57
ข่าวเด่น