ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังความกังวลวิกฤตยูเครนยังคงอยู่
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น ภายหลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีถ้อยแถลงเพื่อส่งสัญญาณเตือนรัสเซียและกลุ่มประเทศอื่นๆ ให้หยุดแทรกแซงยูเครน ซึ่งหากกลุ่มประเทศใดมีสัญญาณชี้ชัดว่าจะเข้าร่วมในการแทรงแซงผ่านการใช้กำลังทหารเข้าไปในยูเครน สหรัฐฯ อาจมีการตัดสินใช้มาตรการคว่ำบาตรในภาคการท่องเที่ยวและดำเนินการอายัดสินทรัพย์สหรัฐฯ ของกลุ่มประเทศดังกล่าว นอกจากนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังกล่าวเน้นย้ำว่าการกระทำใดๆ เพื่อมุ่งหวังเข้าแทรกแซงยูเครนนั้นนับเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายสากล
+ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน สิ้นสุดสัปดาห์วันที่ 1 มี.ค. 57 ปรับตัวลดลงมากกว่าคาดโดยปรับลดลง 26,000 ราย มาอยู่ ณ ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ที่ 323,000 ราย นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ มีแนวโน้มการปรับตัวที่ดีขึ้น
- ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานสหรัฐฯ ประจำเดือน ม.ค. 57 ปรับตัวลดลง 0.7% มากกว่าที่คาดว่าจะปรับลดลง 0.4% โดยเป็นการปรับตัวลดลงของสินค้าในอุตสาหกรรมส่วนประกอบรถยนต์ เหล็ก ผลิตภัณฑ์เคมี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก นอกจากนั้น ยังมีการปรับลดตัวเลขของเดือน ธ.ค. 5 6 ลงมาเป็น 1.5% ด้วย นับเป็นการบ่งชี้ถึงภาคการผลิตสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณชะลอตัว
+ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ณ ระดับต่ำที่ 0.25% เพื่อมุ่งหวังกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคยูโรปโดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ภายหลังหน่วยกำจัดกำมะถันของโรงกลั่น Formosa ในไต้หวันเกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยมีการคาดการณ์ว่าอาจจำเป็นต้องมีการปิดซ่อมบำรุงหน่วยกลั่นดังกล่าวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการผลิตน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากแรงกดดันของอุปสงค์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงอยู่ในกรอบที่จำกัดเนื่องจากตลาดมีความกังวลต่อสภาวะของอุปทานภายหลังเกิดหตุเพลิงไหม้หน่วยกำจัดกำมะถันของโรงกลั่น Formosa ในไต้หวัน
ทิศทางราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 98 - 106 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 106-112 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามองสัปดาห์หน้า
-จากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ปรับลดลงเนื่องจากโรงกลั่นในสหรัฐฯอยู่ช่วงปิดซ่อมบำรุง โดยล่าสุดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯปรับลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล ตามอุณหภูมิที่ปรับสูงขึ้น
-ตลาดมีความกังวลต่อสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัสเซียได้ส่งกองทัพเข้าประจำการในบริเวณคาบสมุทรไครเมีย เนื่องจากปัจจุบันรัสเซียส่งก๊าซกว่า 1 ใน 4 ของกำลังการผลิตผ่านยูเครนไปยังยุโรป หากท่อขนส่งดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ อาจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันทำความร้อนเพิ่มขึ้น
- ความพยายามในการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งและเพื่อให้สถานการณ์การผลิตน้ำมันดิบในลิเบียกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ ล่าสุดลิเบียมีกำลังการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 0.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงจากกำลังการผลิตในระดับปกติที่ 1.4 ล้านบาร์เรล ในเดือน ก.ค. 56
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนยุโรป - มี.ค. 57
วันอังคาร -
วันพุธ การผลิตภาคอุตสาหกรรมยุโรป - ม.ค. 57
วันพฤหัสฯ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ - ก.พ. 57
สินค้าคงคลังสหรัฐฯ - ม.ค. 57
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน - ก.พ. 57
ยอดค้าปลีกจีน - ก.พ. 57
วันศุกร์ ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ - ก.พ. 57
ข่าวเด่น