น้ำมันดิบปรับลดหลังนักลงทุนเทขาย เนื่องจากสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติกาล
- นักลงทุนเทขายสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบ อันเป็นผลมาจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูง แสดงให้เห็นว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบของสหรัฐฯ เบาบางลง อันเป็นผลมาจากโรงกลั่นบางส่วนยังคงอยู่ในช่วงปิดซ่อมบำรุง โดยในช่วงสองสัปดาห์ก่อนหน้าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ได้ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 32 ปี
- นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินสกุลต่างๆ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันดิบแพงขึ้นในมุมมองของผู้ซื้อ เนื่องจากผู้ซื้อต้องใช้เงินสกุลตนเองมากขึ้นในการซื้อน้ำมันดิบ
- รัฐบาลลิเบียยืนยันจะทำตามข้อตกลงกับกลุ่มกบฏหัวรุนแรง เพื่อเจรจาเปิดใช้ท่าน้ำมันดิบ Ras Lanuf และ Es Sider ซึ่งสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้ราว 560,000 บาร์เรลต่อวัน
+ อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ความตึงเครียดยูเครน-รัสเซียยังคงหนุนราคาน้ำมันดิบ โดยล่าสุดประชาชนในแถบตะวันออกของยูเครน ได้ลงประชามติแบ่งแยกตนเองออกจากยูเครน เพื่อเข้าผนวกกับรัสเซียในวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา
+ สหภาพยุโรปเตรียมพร้อมเพิ่มระดับการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย โดยจะมีการอายัดวีซ่าและทรัพย์สินกลุ่มคนใกล้ชิดของนายวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเพิ่มเติมอีก 15 คน รวมไปถึงบริษัทที่จดทะเบียนในไครเมีย อย่างไรก็ดี สหภาพยุโรปจะรอจนกว่าการลงประชามติแบ่งแยกดินแดนฝั่งตะวันออกเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีการลงนามยกระดับการคว่ำบาตร
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการซื้อน้ำมันเบนซินเตรียมสำรองใช้ในช่วงถือศีลอดที่กำลังจะมาถึงในเดือนมิ.ย.นี้ ถึงแม้ว่าโรงกลั่นในอินเดียจะเริ่มทยอยกลับมาดำเนินการหลังช่วงปิดซ่อมบำรุงประจำปีแล้ว
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดีเซลจากผู้ซื้อรายใหญ่ในภูมิภาคอย่างจีนเบาบางลง อันเป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัว
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 98-105 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 105-111 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-จับตาปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเริ่มปรับตัวลดลงหลังจากโรงกลั่นบางส่วนทยอยกลับมาดำเนินการหลังจากช่วงปิดซ่อมบำรุงประจำปี
- สถานการณ์ความตึงเครียดกรณีรัสเซีย-ยูเครน ภายหลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางฝั่งตะวันออกของยูเครนระหว่างกบฏแบ่งแยกดินแดนฝักใฝ่ฝ่ายรัสเซีย และทหารของรัฐบาล โดยล่าสุดมีแผนการลงประชามติแบ่งแยกดินแดนดังกล่าวเพื่อผนวกเข้ากับรัสเซีย
- การเจรจาเปิดใช้ท่าขนส่งน้ำมันดิบ Las Ranuf และ Es Siderเพิ่มเติม ซึ่งหากสำเร็จลุล่วงจะทำให้ลิเบียส่งออกน้ำมันดิบได้เพิ่มอีกราว 650,000 บาร์เรลต่อวัน
- รายงานประจำเดือนพ.ค. ของ OPEC และIEA ที่จะออกมาในวันที่ 13 และ 15 พ.ค.นี้ ตามลำดับ ว่าจะมีมุมมองต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบโลก หลังจากอุปสงค์น้ำมันดิบโลกถูกกดดันจากเศรษฐกิจจีนที่ส่อเค้าซบเซา รวมไปถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจรัสเซีย
-จีดีพีไตรมาส 1/57 ของสหภาพยุโรป ที่จะประกาศในวันที่ 15 พ.ค.นี้ ว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าหรือไม่ท่ามกลางความกังวลกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของสหภาพยุโรป หากการคว่ำบาตรต่อรัสเซียซึ่งเป็นคู่ค่าสำคัญทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ -
วันอังคาร ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ - เม.ย. 57
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน - เม.ย. 57
ยอดค้าปลีกจีน - เม.ย. 57
วันพุธ ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ - เม.ย. 57
ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - เม.ย. 57
การภาคอุตสาหกรรมยุโรป - มี.ค. 57
วันพฤหัส ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - เม.ย. 57
จีดีพีไตรมาส 1/57 ยุโรป
เงินเฟ้อ - เม.ย. 57
วันศุกร์ ยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ - พ.ค. 57
ข่าวเด่น