ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เท็กซัสปรับลดลง เนื่องจากนักลงทุนเทขายน้ำมันดิบเพื่อทำกำไรจากราคาที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร
-/+ ราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันด้วยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากที่สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำวันที่ 6 มิ.ย. 57 ปรับเพิ่มขึ้น 1.45 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 383.9 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นต่างๆ ลดกำลังการผลิตลง ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล แต่อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำมันดิบคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับลดลง 213,000 บาร์เรล
+ ธนาคารกลางของจีนออกมาประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ว่าจะมีนโยบายที่ผ่อนคลายดอกเบี้ยลงให้กับการทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อเป็นการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและกระตุ้นความต้องการใช้น้ำมันให้มากขึ้น
+ ดัชนีราคาผู้ผลิตของจีนเดือน พ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -1.4% ซึ่งใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ -1.5% และสูงกว่าเดือน เม.ย.ที่ระดับ -2.0% ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ทางด้านอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น
+ ดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนเดือน พ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2.5% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน และใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2.4% และสูงกว่าเดือน เม.ย. ที่ระดับ 1.8% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจของจีนอยู่ในระดับที่คงที่
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แต่อย่างไรก็ตามความต้องการน้ำมันเบนซินจากอินโดนีเซียและเวียดนามมีปริมาณลดลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคมีการชะลอตัวลง โดยเฉพาะจากเวียดนาม
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปทานมากกว่าอุปสงค์ หลังจากที่โรงกลั่นต่างๆ ในเอเซียกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้งจากการปิดซ่อมบำรุง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 98-105 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 105-112 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาแผนสันติภาพของนาย โปโรเชนโค ประธานาธิบดีคนล่าสุดของยูเครน ที่มุ่งหวังจะยุติปัญหาทางการเมืองกับรัสเซีย และปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ
ติดตามการประชุมกลุ่มโอเปกที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 มิ.ย. นี้ ภายหลังจากการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 3 เดือน มาอยู่ที่ประมาณ 30.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน พ.ค.
รายงานประจำเดือนจาก EIA OPEC และ IEA ในวันที่ 10, 12 และ 13 มิ.ย. นี้ตามลำดับ ว่าจะมีมุมมองต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบโลกอย่างไร ภายหลังจากการผลิตน้ำมันดิบจากประเทศนอกกลุ่มโอเปก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ และแคนดานาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบลิเบียที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำราว 150,000 บาร์เรลต่อวัน อันเป็นผลมาจากการเจรจาเปิดใช้ท่าขนส่งน้ำมันดิบยังไม่สัมฤทธิ์ผล โดยล่าสุดท่าขนส่งน้ำมันดิบหลักของประเทศอย่าง Es Sider และ RasLanuf ยังคงถูกกลุ่มผู้ประท้วงปิดอยู่
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนยุโรป-มิ.ย. 57
วันอังคารดัชนีราคาผู้ผลิตจีน-พ.ค. 57
ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน-พ.ค. 57
วันพุธ-
วันพฤหัสยอดค้าปลีกสหรัฐฯ-พ.ค. 57
สินค้าคงคลังสหรัฐฯ-เม.ย. 57
การผลิตภาคอุตสาหกรรมยุโรป-เม.ย. 57
วันศุกร์ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ-พ.ค. 57
อัตราการจ้างงานยุโรป-ไตรมาส 1/57
ข่าวเด่น