- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มิ.ย. 57 ลดลง 579,000 บาร์เรล ปรับลดน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์และสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) คาดการณ์ว่าจะปรับลดลงที่ 700,000 บาร์เรล และ 5.7 ล้านบาร์เรล ตามลำดับมาอยู่ที่ 386.5 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอคลาโฮมา ปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกใน 9 สัปดาห์ ที่ 247,000บาร์เรล มาอยู่ที่ 21.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าช่วงต้นปีที่อยู่ระดับสูงถึง 41 ล้านบาร์เรล สำหรับปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 785,000 บาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 113,000 บาร์เรล ส่วนปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 436,000 บาร์เรล ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล
+ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ WTI ปรับลดลงไม่มากนัก เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อสถานการณ์รุนแรงในอิรัก ซึ่งเชื่อมโยงต่ออุปทานน้ำมันดิบของโลก โดยอิรักเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) โดยล่าสุดอิรักขอความช่วยเหลือทางอากาศจากสหรัฐฯ เพื่อต่อสู้กับกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ (ISIL) หลังจากเข้ายึดครองเมืองสำคัญต่างๆ ในอิรักในเมื่อสัปดาห์ก่อน
+ นอกจากนี้ กองกำลัง ISILได้เข้ายึดครองพื้นที่โรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในอิรัก ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของประเทศที่ผลิตน้ำมันเพียงแห่งเดียวทางตอนเหนือของอิรักที่ตั้งอยู่ในเมืองไบจิ ได้ถึงร้อยละ 75 ของพื้นที่ทั้งหมด หลังได้เข้ายึดเมืองไบจิเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้อาจต้องมีการนำเข้าน้ำมันดีเซลและเบนซินเพิ่มเติม
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดคาดว่าประเทศอินโดนีเซียจะนำเข้าในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 9.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าในเดือน มิ.ย.และ พ.ค.ที่นำเข้าต่ำกว่า 9 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากการคาดว่าตะวันออกกลางยังมีความต้องการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อใช้ในช่วงหน้าร้อนสำหรับเครื่องปรับอากาศ ประกอบกับตลาดคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มจากอิรัก เนื่องจากสถานการณ์รุนแรงความรุนแรงที่ทำให้มีการปิดล้อมโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในอิรัก
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 102-109 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 108-115 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
เหตุการณ์สู้รบในอิรักที่เพิ่มความรุนแรงส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งน้ำมันทางท่อ Kirkuk ทางตอนเหนือของประเทศ รวมถึงส่งผลให้โรงกลั่นใหญ่ที่มีกำลังผลิต 310,000 บาร์เรลต่อวันต้องลดกำลังการผลิตลง
รัฐบาลลิเบียคาดว่าจะยังคงไม่สามารถเจรจากับกลุ่มผู้ประท้วงเพื่อขอเปิดใช้ท่าเรือส่งออกน้ำมันดิบได้เพิ่มเติม แม้จะมีความพยายามหลายครั้ง โดยการส่งออกน้ำมันดิบล่าสุดยังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 200,000 บาร์เรลต่อวัน
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ในวันที่ 17-18 มิ.ย. นี้ ตลาดคาดว่าทางธนาคารกลางฯ จะยังคงตัดสินใจลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลลงต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากตลาดมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น
การเจรจาระหว่างประธานาธิบดีรัสเซียกับประธานาธิบดียูเครน เพื่อร่วมมือกันขจัดปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นทางตะวันออกของยูเครนระหว่างรัฐบาลยูเครนและกองกำลังติดอาวุธฝักใฝ่รัสเซียที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ มีแนวโน้มจะป็นไปได้ด้วยดี
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันศุกร์ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ-พ.ค. 57
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน - พ.ค. 57
ยอดค้าปลีกจีน - พ.ค. 57
วันจันทร์ดัชนีราคาผู้บริโภคยุโรป-พ.ค. 57
ดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์ค - มิ.ย. 57
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - พ.ค. 57
วันอังคารดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ -พ.ค. 57
ยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ - พ.ค. 57
วันพฤหัสดัชนีภาคอุตสาหกรรมขของฟิลาเดลเฟีย - มิ.ย. 57
ความรู้สึกผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจยูโรโซน - มิ.ย. 57
ข่าวเด่น