ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ถูกกดดันโดยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียที่มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นคือมีผู้ก่อการร้ายเข้ายึดท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบขนาดเล็กทางตะวันออกที่มีขนาด 43,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ปริมาณการผลิตน้ำมันของลิเบียไม่ได้ถูกกระทบมาก โดยเริ่มกลับมาปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 588,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 470,000 บาร์เรลต่อวัน สาเหตุเนื่องจากการกลับมาดำเนินการผลิตของแหล่งน้ำมันดิบ El Sharara และการเปิดท่าเรือ 2 แห่งในสัปดาห์ก่อน
+ อย่างไรก็ตามจากการรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 ก.ค. 57 ของสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) พบว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับลดลง 4.8 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล สืบเนื่องจากการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงและการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่น นอกจากนั้นแล้วปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอคลาโฮมาปรับลดลง 944,000 บาร์เรล สำหรับปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังนั้นพบว่า ปริมาณน้ำมันเบนซินปรับลดลงสวนทางกับการคาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น และปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
- ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. 57 พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 0.6% และปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยเดือนก่อนหน้าที่มีการปรับประมาณการสูงขึ้นเป็นเพิ่มขึ้น 0.5% โดยสาเหตุของการเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดเนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่ปรับตัวลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยหากยอดค้าปลีกที่ไม่รวมยอดขายรถยนต์พบว่าปรับเพิ่มขึ้น 0.4% จากเดือนก่อนหน้า
- ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสเมื่อคืนที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดหากเศรษฐกิจและการจ้างงานฟื้นตัวเร็วขึ้น
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้ที่ปรับเพิ่มขึ้นจากอินเดียและมาเลเซีย ประกอบกับอุปทานในตลาดที่ตรึงตัวมากขึ้นหลังโรงกลั่นบางแห่งมีการลดอัตราการใช้กำลังการผลิตลง สืบเนื่องจากค่าการกลั่นที่ปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้ที่ปรับเพิ่มขึ้นจากออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามราคาถูกกดดันโดยปริมาณอุปทานที่ปรับเพิ่มขึ้นจากการเร่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้ในช่วงฤดูร้อนของตะวันออกกลาง
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 98-105 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 105-111 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-จับตาการส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง อย่างไรก็ตาม ล่าสุดแหล่งผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ El Sharara ซึ่งมีกำลังผลิต 340,000 บาร์เรลต่อวัน และท่าเรือหลัก Es Sider และ Ras Lanuf กลับมาเปิดใช้การได้อีกครั้ง แม้อาจต้องใช้เวลาในการซ่อมบำรุงท่อส่งน้ำมันและอุปกรณ์การส่งออกน้ำมันต่างๆ แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าการส่งออกลิเบียอาจเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
-ความไม่แน่นอนของการปะทะกันระหว่างกองทัพรัฐบาลยูเครนกับกบฏแบ่งแยกดินแดนฝักฝ่ายรัสเซียในยูเครนตะวันออกว่าจะเป็นไปในทิศทางใด หลังตัวแทนรัฐบาลยูเครนย้ำไม่ยอมหยุดยิงฝ่ายเดียวอีกต่อไป ขณะที่แกนนำของกบฏแบ่งแยกดินแดนฝักฝ่ายรัสเซียในยูเครนยังคงเตรียมตัวตอบโต้กลับกองทัพยูเครนอย่างต่อเนื่อง
-แม้ความรุนแรงในอิรักที่ลดความรุนแรงลงและไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมันดิบทางตอนใต้ของประเทศแต่ปัญหาการแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระของชาวเคิร์ด ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิรักอาจส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลเรื่องอุทานน้ำมันดิบอิรักอีกครั้ง โดยปัจจุบันการส่งออกน้ำมันดิบจากบริเวณเคอร์ดิสถานอยู่ที่ราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน
-เหตุการณ์ความรุนแรงในฉนวนกาซาระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์ ล่าสุดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และสร้างความกังวลว่าเหตุการณ์จะบานปลายไปยังบริเวณอื่นในตะวันออกกลาง ขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเรียกร้องทุกฝ่ายยุติการยิง
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป - พ.ค. 57
วันอังคารดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์ค - ก.ค. 57
ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ - มิ.ย. 57
วันพุธผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ - มิ.ย. 57
ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ - มิ.ย. 57
ดัชนีตลาดบ้านสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ยอดค้าปลีกจีน - มิ.ย. 57
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน - มิ.ย. 57
จีดีพีไตรมาส 2/57 จีน
วันพฤหัสยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ - มิ.ย. 57
ดัชนีภาคอุตสาหกรรมรัฐฟิลาเดลเฟีย ก.ค. 57
ดัชนีราคาผู้บริโ4คสหภาพยุโรป - มิ.ย. 57
วันศุกร์ความรู้สึกผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ข่าวเด่น