+ นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดการสั่งซื้อสินค้าคงทนประจำเดือน ก.ค. 57 เพิ่มขึ้น 22.6% จากเดือนก่อนหน้า สูงกว่าที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 5.1% ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
+ รวมไปถึง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน ส.ค. 57 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 92.4 จุด สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 89.5 จุด นับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแตะ ณ ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 50 ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ต่อสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
- ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง หลังตลาดคลายความกังวลในประเด็นสภาวะอุปทานตึงตัวในลิเบีย หลังกำลังการผลิตน้ำมับดิบของลิเบียมีการปรับเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ประกอบกับสถานการณ์อุปทานตึงตัวในกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมัน อาทิเช่น อิรัก อิหร่าน และไนจีเรีย มีแนวโน้มคลี่คลายลง โดยล่าสุดปริมาณการขาดแคลนน้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 400,000 บาร์เรล จากระดับก่อนหน้าที่ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณน้ำมันดิบที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่จะปรับตัวลดลง หลังโรงกลั่นในออสเตรเลียเตรียมปิดซ่อมบำรุงในเดือน ต.ค. อย่างไรก็ตามราคายังถูกกดดันจากปัจจัยพื้นฐานด้านอุปทานในภูมิภาคที่ค่อนข้างสูงและอุปสงค์ที่ค่อนข้างต่ำ
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากการส่งออกน้ำมันดีเซลของจีนที่ปรับตัวลดลง ในขณะที่ความต้องการในภูมิภาคปรับตัวลดลง โดยเฉพาะจากประเทศศรีลังกา
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซั สในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 92-98 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 100 - 105 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-ลิเบียยังคงพยายามส่งออกน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง หลังการส่งออกจากท่าเรือ Es Sider มีปัญหาทางเทคนิคทำให้ไม่สามารถขนถ่ายน้ำมันดิบลงเรือได้ในสัปดาห์ก่อน โดยท่าเรือดังกล่าวถือเป็นคลังเก็บน้ำมันดิบซึ่งมีปริมาณราว 4.5 ล้านบาร์เรล และเชื่อมต่อกับท่อขนส่งน้ำมันดิบจากหลุมผลิตน้ำมันดิบด้วย
-การตอบโต้ของกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนฝักใฝ่รัสเซียต่อรัฐบาลยูเครนจะเป็นอย่างไร ภายหลังรัฐบาลสามารถยึดเมืองลูฮานสก์ได้ โดยล่าสุดยังมีการปะทะกันต่อเนื่องและยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันดิบอยู่เป็นระยะ
-จับตาการประกาศจีดีพีไตรมาส 2/57 ของสหรัฐฯ (ครั้งที่ 2) ในวันที่ 28 ส.ค.นี้ ที่หลายฝ่ายคาดว่าจะมีการปรับลดลงเล็กน้อยมาเติบโตที่ 3.8% จาก 4.0% ในการประกาศครั้งก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯ จะสะท้อนถึงแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันจากประเทศผู้นำของโลกได้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (Markit) - ส.ค. 57
ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตยุโรป (Markit) - ส.ค. 57
ดัชนีภาคการบริการยุโรป (Markit) - ส.ค. 57
วันจันทร์ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ - ส.ค. 57
ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ - ก.ค. 57
วันอังคารยอดขายสินค้าคงทนสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - ส.ค. 57
วันพฤหัสจีดีพีไตรมาส2/57 สหรัฐฯ
ยอดสัญญาซื้อขายบ้านรอปิดการขายสหรัฐฯ - ก.ค.57
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยุโรป - ส.ค. 57
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยุโรป - ส.ค. 57
วันศุกร์เงินเฟ้อยุโรป - ส.ค. 57
อัตราว่างงานยุโรป - ก.ค. 57
ข่าวเด่น