- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส และเบรนท์ปรับตัวลดลง เนื่องจากค่าเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี หลังการประกาศตัวเลขยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 13 ก.ย. 57 ปรับลดลง 36,000 ราย มาสู่ระดับ 280,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา รวมไปถึงมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ หลังจากมีการประกาศนโยบายทางการเงินโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา
+/- กำลังการผลิตน้ำมันของลิเบียปรับลดลงช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลงไม่มากนัก หลังจากโรงกลั่นน้ำมัน Zawiya ของลิเบียซึ่งมีกำลังการผลิต 120,000 บาร์เรลต่อวันต้องหยุดดำเนินการลง เนื่องจากถังเก็บน้ำมันได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์สู้รบระหว่างรัฐบาลลิเบียและกองกำลังติดอาวุธ และทำให้แหล่งผลิตน้ำมัน El Sharara ซึ่งมีกำลังการผลิตที่ 200,000 บาร์เรลต่อวันต้องหยุดดำเนินการ แต่อย่างไรก็ตามสภาพตลาดน้ำมันดิบยังคงอ่อนแอเนื่องจากมีอุปทานเหลืออยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก จากกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มมากขึ้นจากสหรัฐฯ และแถบแอตแลนติก ขณะเดียวกับอุปสงค์ของน้ำมันมีปริมาณลดลง
- นักลงทุนยังคงจับตามองต่อผลของการลงประชามติของประชาชนชาวสกอตแลนด์เพื่อแยกตัวเป็นอิสระจากการปกครองของอังกฤษ หลังจากอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษเป็นเวลานานกว่า 307 ปี จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวสกอตแลนด์มีความเห็นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คาดการณ์ว่าผลของการลงประชามตินั้นจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากแหล่งน้ำมันดิบในแถบทะเลเหนือเกือบทั้งหมดอยู่ในประเทศสกอตแลนด์
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปทานเหลือค่อนข้างมากในภูมิภาค ขณะที่อุปสงค์น้ำมันเบนซินยังคงอยู่ในระดับต่ำตามฤดูกาล
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคยังล้นตลาด โดยเฉพาะมีปริมาณน้ำมันดีเซลจากอินเดียออกสู่ตลาดจำนวนมาก ขณะที่อุปสงค์น้ำมันดีเซลจากตะวันออกกลางยังคงเบาบาง ถึงแม้ว่ามีความต้องการน้ำมันดีเซลจากทางฟิลิปปินส์เข้ามาแต่ก็ยังไม่สามารถผลักดันราคาให้สูงขึ้นไปได้
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 90-96 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 96-102 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-จีดีพีไตรมาส 2/57 ของสหรัฐฯ จะประกาศเป็นครั้งที่ 3 ในวันที่ 26 ก.ย.นี้ โดยคาดการณ์ว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยอยู่ที่เติบโต 4.5% จากเติบโต 4.2% ในการประกาศครั้งก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯ จะแสดงถึงแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันดิบจากประเทศผู้นำของโลกนี้ได้
-จับตากลุ่ม OPEC ว่าจะมีมาตรการอย่างไรในการจัดการกับอุปทานน้ำมันดิบที่มีอยู่จำนวนมากในตลาด ภายหลังเลขาธิการ OPEC ออกมาเปิดเผยว่า OPEC มีแผนปรับลดกำลังการผลิตลง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 29.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2558 ซึ่งจะมีการหารือในการประชุมเดือนพฤศจิกายนนี้
-ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียว่าจะกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบมากน้อยเพียงใด ภายหลังพื้นที่ใกล้โรงกลั่น Zawiya ซึ่งรับน้ำมันจากแหล่งน้ำมันดิบ El Sharara ถูกยิงขีปนาวุธจากการสู้รบระหว่างรัฐบาลและกองกำลังติดอาวุธ ส่งผลให้แหล่งน้ำมันดังกล่าว ต้องลดกำลังการผลิตลง ส่งผลให้ล่าสุดการผลิตน้ำมันดิบโดยรวมของประเทศ ปรับลดลงไปอยู่ที่ระดับ 670,000 บาร์เรลต่อวัน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันจันทร์ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ - ส.ค. 57
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยุโรป - ก.ย. 57
วันอังคารดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ดัชนีภาคการผลิตยุโรป - ก.ย. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน - ก.ย. 57
วันพุธยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ - ส.ค. 57
วันพฤหัสยอดขายสินค้าคงทนสหรัฐฯ - ส.ค. 57
วันศุกร์จีดีพีสหรัฐฯ ไตรมาส 2/57
ข่าวเด่น