- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลงเนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของลิเบียและอิรัก โดยล่าสุดปริมาณการผลิตของลิเบียปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 800,00 บาร์เรลต่อวัน จากเดิมอยู่ที่ 700,000 บาร์เรลต่อวัน หลังการกลับมาของแหล่งน้ำมันดิบ El sharara ส่วนอิรักก็มีการส่งออกเพิ่มขึ้นทางฝั่งตะวันออก ซึ่งห่างไกลจากสงคราม ที่ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนนี้ ทำให้มีอุปทานในตลาดค่อนข้างมาก
+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวดีขึ้นหลังจากการแตะระดับ90 เหรียญในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่อยู่ในระดับดี โดยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ ยังคงมีระดับที่สูงอยู่ 57.9 ในเดือนก.ย. จากระดับ 58.0 ในเดือนส.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 58.1 เพียงเล็กน้อย
+ นอกจากนี้ ต้องจับตาการประกาศสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงาน หรือ EIA ว่าจะประกาศสต็อกน้ำมันดิบลดลงหรือไม่ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน หรือ API ประกาศว่าสต็อกน้ำมันดิบลดลง 6.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งจะแสดงถึงทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐมีแนวโน้มดีขึ้น
+ อย่างไรก็ดี การโจมตีท่างอากาศ ต่อกลุ่ม IS ในซีเรียเป็นครั้งแรกโดยสหรัฐ ในวันอังคารที่ผ่านมา ทำให้กลุ่ม IS เสียชีวิตจำนวณมากส่งผลให้ตลาดมีความกังวลมากขึ้นว่าสถานการณ์อาจบานปลายและกระทบต่อแหล่งผลิตน้ำมันดิบในซีเรียและอิรัก
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ที่เข้ามาของกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาตะวันออก แต่เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคที่ค่อนข้างสูง ทำให้ราคาไม่ปรับเพิ่มมากนัก
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปสงค์จากแอฟริกาช่วยสนับสนุน อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคที่มีอยู่สูง ยังกดดันราคาน้ำมันดีเซลอยู่
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 90-96 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 96-102 เหรียญฯ
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จีดีพีไตรมาส 2/57 ของสหรัฐฯ จะประกาศเป็นครั้งที่ 3 ในวันที่ 26 ก.ย.นี้ คาดการณ์ว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยอยู่ที่เติบโต 4.5% จากเติบโต 4.2% ในการประกาศครั้งก่อนหน้า ซึ่งตลาดคาดอาจส่งแรงหนุนต่อราคาน้ำมัน
จับตาท่าทีการปรับลดกำลังผลิตของกลุ่ม OPEC ว่าจะออกมาทิศทางใด หลังมีกระแสข่าวออกมาว่าOPEC มีแผนปรับลดกำลังการผลิตลง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 29.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2558 โดยการหารือหลักอาจเกิดขึ้นในการประชุมกลุ่มวันที่ 27 พ.ย. นี้
สถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียจะกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบมากน้อยเพียงใด หลังพื้นที่ใกล้โรงกลั่น Zawiya ซึ่งรับน้ำมันจากแหล่งน้ำมันดิบ El Sharara ถูกยิงโดยขีปนาวุธจากการสู้รบระหว่างรัฐบาลและกองกำลังติดอาวุธ ส่งผลให้แหล่งน้ำมันดังกล่าวต้องลดกำลังการผลิตลง ล่าสุดการผลิตน้ำมันของประเทศปรับลดลงไปอยู่ที่ระดับ 670,000 บาร์เรลต่อวัน
ข่าวเด่น