ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม เนื่องจากค่าเงินสหรัฐฯ อ่อนตัวลงและโรงกลั่นน้ำมันในแคนาดาขยายเวลาปิดซ่อมบำรุง


 +  ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส และเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง ซึ่งเป็นการลดลงภายในหนึ่งวันมากที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 57 หลังจากที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 ปี เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา  สาเหตุจากมีกระแสจากนักลงทุนทำการคาดการณ์จังหวะเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับอัตราดอกเบี้ย ภายหลังที่มีการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง

 
+ ประกอบกับราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปได้รับแรงหนุนจากการที่โรงกลั่นน้ำมันดิบ Irving St. John ในแคนาดา ต้องขยายจำนวนวันในการปิดซ่อมบำรุงหน่วยผลิตน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลออกไปจนถึงปลายเดือน พ.ย. ซึ่งโรงกลั่นแห่งนี้มีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 300,000 บาร์เรลต่อวัน และส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปมากกว่าครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ 
 
- แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบก็ยังคงถูกกดกันให้ไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้มากนัก เนื่องจากในตลาดยังคงมีอุปทานมากกว่าอุปสงค์น้ำมันดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกำลังการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียที่ปรับเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากโอเปกว่าจะมีการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงหรือไม่ ซึ่งต้องรอผลจากการประชุมโอเปกในวันที่ 27 พ.ย. นี้ โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่าโอเปกจะลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงก็ต่อเมื่อราคาน้ำมันดิบแตะระดับ 90 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล
 
ราคาน้ำมันเบนซิน ตลาดสิงคโปร์ปิดเนื่องในวันหยุด Hari Raya Haji
 
ราคาน้ำมันดีเซล ตลาดสิงคโปร์ปิดเนื่องในวันหยุด Hari Raya Haji
 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 88-94 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 90-96 เหรียญฯ
 
ปัจจัยที่น่าจับตามอ
จับตาการประท้วงต่อต้านรัฐบาลจีนในฮ่องกง ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ซึ่งฮ่องกงเป็นเป็นช่องทางหนึ่งที่จีนใช้เป็นฐานเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ทั้งทางด้านตลาดทุน ตลาดเงินและการขนส่ง เหตุการณ์นี้อาจทำให้เศรษฐกิจจีนที่ยังคงซบเซาอยู่เลวร้ายไปกว่าเดิม และส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบย่ำแย่ด้วยเช่นกัน
 
ยังคงต้องจับตามองถึงประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวของอีซีบี ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเงินฝืด และจะทำให้อุปสงค์การใช้น้ำมันในภูมิภาคกลับมาได้หรือไม่ 
 
ติดตามรายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน ต.ค. ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ในวันที่ 7 ต.ค. และ OPEC ในวันที่ 10 ต.ค. ว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันโลกในปีนี้ลงอีกหรือไม่ หลังหลายฝ่ายยังคงกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวที่ลดลงของผู้บริโภคน้ำมันอันดับสองของโลกอย่างจีน
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ของอีซีบี
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐฯ - ก.ย. 57
วันศุกร์ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ - ก.ย. 57
อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - ก.ย. 57
ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ - ก.ย. 57
วันพุธดัชนีภาคการบริการจีน (HSBC) - ก.ย. 57  
ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC) - ต.ค. 57
วันพฤหัสยอดค้าส่งสหรัฐฯ - ส.ค. 57
วันศุกร์ดุลการค้าจีน - ก.ย. 57
 
 

 


บันทึกโดย : วันที่ : 07 ต.ค. 2557 เวลา : 11:30:07

17-09-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 17, 2024, 1:33 pm